จริยธรรมทางการแพทย์ : กรณีศึกษาการรักษาด้วยวิธีโทรเวชกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
โทรเวชกรรม หรือระบบการแพทย์ทางไกล คือ การนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากร ทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ video conference ที่คู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้าและสนทนากันได้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้อย่างไร้ข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ การดำเนินงานพัฒนาโทรเวชกรรมประสบปัญหาและมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายและการนำไปปฏิบัติ รวมทั้งปัญหามิติทางด้านกฎหมาย เนื่องจากอยู่ในระยะพัฒนา แพทยสภาได้ออกประกาศที่ 54/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์ และอยู่ในขั้นตอนพัฒนาคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับการให้บริการรักษาแบบโทรเวชกรรม ซึ่งตามประกาศจริยธรรมทางการแพทย์ให้ยึดหลักตามจริยธรรมการให้บริการแบบตัวต่อตัว เพื่อให้แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานการให้บริการ และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ลดการละเมิดสิทธิ ของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการทางการแพทย์แบบโทรเวชกรรมต่อไป
Article Details
References
สรากร ละอองแก้ว. (2555). ภาวะความดันโลหิตสูง ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก http://www.bangkokhealth.com.
สัญญา ภัทราชัย. (2551). จริยธรรมวิชาชีพแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.
สุขิต เผ่าสวัสดิ์, เยื้อน ตันนิรันดร, ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์, เฮ็นรี่ ไวลด์. (2543).จริยธรรมในเวชปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: ไอเอส พรินติ้งเฮ้าส์.
Kasitipradith, N. (2001). The Ministry of Public Health telemedicine network of Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health.
Narong Kasitipradith. (1996). Telemedicine project. Bangkok. Ministry of Public. Health.