การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท

Main Article Content

วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย
ชวภณ กิจหิรัญกุล

บทคัดย่อ

ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลชนบท พัฒนาโดยการประยุกต์ใช้ Telemedicine  ซึ่งสามารถช่วยจัดการสุขภาพโดย ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถตรวจวัดสภาพทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยในทุก ๆ วัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งด้วยระบบสื่อสารไร้สายเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ และจัดส่งไปยังโรงพยาบาล ซึ่งจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาในการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ชนบท ในกรณีฉุกเฉินปัจจุบันประเทศไทยได้ตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินขึ้น เป็นศูนย์ข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการ กับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ โดยใช้ระบบ Telemedicine ซึ่งยังมีอุปสรรคของการใช้ระบบการแพทย์ทางไกล คือ 1. เครือข่ายระบบสื่อสารไม่ครอบคลุมพื้นที่ชนบท 2. แพทย์ที่ให้การรักษาต้องมีความเชี่ยวชาญอาการในการรักษาพยาบาลผ่านจอคอมพิวเตอร์ และต้องสามารถใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 3. ขาดแนวทางการรักษาแพทย์ทางไกลให้แพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์ยึดถือปฏิบัติ ดังนั้นการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกล Telemedicine ต้องมีการพัฒนาควบคู่กันระหว่าง ความเชี่ยวชาญของแพทย์  ที่ต้องรักษาผ่านระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงแนวทางการรักษาผ่านระบบการแพทย์ทางไกล และพัฒนาระบบเครือข่าย เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ให้ทันสมัยสามารถใช้ได้ครอบคลุมในพื้นที่ชนบทห่างไกล ประชาชนชนบทสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและรวดเร็วทันเวลาจะช่วยให้ประชาชนที่อยู่ชนบทห่างไกลเมื่อเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้รับบริการที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับประชาชนในเขตเมืองต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
พวงชมพู ประเสริฐ. (2561). ระบบบริการสาธารณสุข คนไทยเข้าถึงแต่ยังเหลื่อมล้ำ. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2563, จาก http://www.komchadluek.net/news/edu- health/338987
ไพศาล มุณีสว่าง. (2561). รายงานโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2563, จาก http://nuradio.nu.ac.th/?p=4096.
สกลนันท์ หุ่นเจริญ, ณมน จีรังสุวรรณ, และปณิตา วรรณพิรุณ. (2557). การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(2), 191-198.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์.
อัคคะนนท์ พงศ์ลักษมาณา. (2557). การพัฒนาต้นแบบระบบช่วยติดต่อสื่อสารทางการแพทย์ บนระบบปฏิบัติการ Android. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Darkins, A. William, & Cary, M. Ann. (2000). Telemedicine and telehealth : principles, policies, performance, and pitfalls. New York: Springer Pub. Co.
Cucina R. (2013). Information Technology in Patient Care.In M.A. Papadakis, S.J. McPhee, M.W. Rabow (Eds), CURRENT Medical Diagnosis & Treatment 2013.
. [cited 2012 November 16], Available from: http://accessmedicine.com/content.aspx?aid=77 9189.
Indian Space Research Organization. (2006).Telemedicine Healing Touch Through Space Enabling Specialty Healthcare to the Rural and Remote Population of India. Bangalore: ISRO Headquarters.
John Craig, Victor Patterson. (2005). Introduction to the practice of telemedicine. Journal of Telemedicine and Telecare, 11(1), 3-9.
Rao B., Lombardi A. ll. (2009). Telemedicine: current status in developed and developing countries. Journal of Drugs in Dermatology, 8(4), 371-375.
World Health Organization. (1998). A health telematics policy: Report of the WHO Group consultation on health telematics Geneva, 11–16 December 1997.
World Health Organization.
World Health Organization. (2009). Telemedicine: opportunities and developments in Member States : Report on the second global survey on eHealth. World Health Organization