อิทธิพลเชิงโครงสร้างของการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิดาภา ขนุนศรี
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของการจัดการความรู้ ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัคร (2) การจัดการความรู้ในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงความผูกพันต่อองค์กรสู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัคร และ(3) ความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการจัดการความรู้สู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 122 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้แก่ ปัจจัยการจัดการความรู้ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการเก็บรักษาด้านการถ่ายโอนความรู้ ด้านการนำความรู้มาใช้ ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร และปัจจัยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคเท่ากับ 0.789, 0.858, 0.822, 0.832, 0.918 และ 0.838 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร มีระดับ การจัดการความรู้ ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) การจัดการความรู้เป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างความผูกพันต่อองค์กรสู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัคร และ (3) ความผูกพันต่อองค์กรเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการจัดการความรู้สู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัคร ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการความรู้ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบจะทำให้บุคคลเกิดความผูกพันต่อองค์การได้และในทำนองเดียวกันความผูกพันต่อองค์กรก็ทำให้เกิดทัศนคติที่ดีที่สามารถสร้างกระบวนการจัดการความรู้ที่สามารถนำความรู้ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรณิการ์ ภูริจิตศิลป. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต พิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 14(3), 169-179.
กลุ่มพัฒนาการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานและพัฒนาการเรียนรู้.
ฑิฆัมพร ศิริจันทพันธ์. (2556). ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสรมสถานศึกษาเอกชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(48), 73-82.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของความไว้วางใจและการแบ่งปันความรู้ในฐานะปัจจัยคั่นกลางแบบอนุกรมที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาสู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดย่อมของอุตสาหกรรมผลิตเซรามิกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 175-186.
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. (2562). จำนวนครูอาสาสมัครศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ปี 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตหนองแขม
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, เยี่ยมดาว ณรงคะชวนะ และยุทธชัย ฮารีบิน. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้และความผูกพันต่อองค์การของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(2), 74-86.
สรัสนันท์ ธิรศริโชติ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการความรู้ วัฒนธรรมองค์การ และความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง กลุ่มศึกษาจังหวัดกรุงเทพมหานคร. งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.onec.go.th/index.php/page/category/CAT0001333.
อรวรรณ ไพโรจนวุฒิพงษ์, ราณี อิสิชัยกุล, กิ่งพร ทองใบ และมนตรี พิริยะกุล. (2560). อิทธิพลของการจัดการทุนมนุษย์ในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของการจัดการความรู้และการจัดการผลงานสู่ผลการดำเนินงานขององค์การธุรกิจบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(1), 52-67.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(10), 1-18.
Giri, E. E., Nimran, U., Hamid, D., Musadieq, M. A. (2016). The effect of organizational culture and organizational commitment to job involvement, knowledge sharing, and employee performance: A study on regional telecommunications employees of PT Telkom east Nusa Tenggara province, Indonesia. International Journal of Management and Administrative Sciences, 3(4),
20-33.
Hair, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C., & Gudergan, S. P. (2018). SmartPLS 3. Retrieved 8 March 2019, from https://www.smartpls.com/downloads.
Khalil, O., Claudio, A., & Seliem, A. (2006). Knowledge management: The case of the Acushnet company. SAM Advanced Management Journal, 71(3), 34-44.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Mustapa, A. N., & Mahmood, R. (2016). Knowledge management and job performance in the public sector: The moderating role of organizational commitment. International Journal of Research in Business Studies and Management, 3(7), 28-36.
Petersen, E., & Plowman, C. (1989). Business organization and management (3rd ed.). Homewood: Irwin.
Preacher, K. J. & Hayes, A. F. (2008). Asymptotic and resampling strategies for assessing and comparing indirect effects in multiple mediator models. Behavior Research Methods, 40, 879-891.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.