การปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีของสำนักงานบัญชี ในเขตภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออก 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของนักบัญชีกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพ และ3. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทั่วไปของสำนักงานบัญชี คุณสมบัติของหัวหน้ากับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้า และนักบัญชีในสำนักงานบัญชี 7 จังหวัดในภาคตะวันออก จำนวน 283 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Multiple Correlations) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x= 4.45) รายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณ (¯x= 4.58) กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า (¯x= 4.54) การจัดการเอกสาร (¯x= 4.51) ส่วนด้านที่มีคะแนนต่ำที่สุด คือ การจัดการทรัพยากร (¯x= 4.35) 2. ทักษะของ นักบัญชีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพ (p < .01) 3. ลักษณะของสำนักงานบัญชีต่างกันส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพต่างกัน ได้แก่ 1. สำนักงานบัญชีที่มีลูกค้ามากจะมีระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพสูง 2. สำนักงานบัญชีที่มีผู้ช่วยนักบัญชีจะมีระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ สูงกว่าไม่มีผู้ช่วยนักบัญชี และ 3. สำนักงานบัญชีที่มีผู้ช่วยนักบัญชีที่ระดับการศึกษาสูงจะมีระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพสูง 4. หัวหน้าสำนักงานบัญชีที่มีระดับการศึกษาสูงและประสบการณ์สูง มีระดับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การรับรองคุณภาพสูง
Article Details
References
เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 6(1), 77-85.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2559). ระบบคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง และอำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 51-66.
ปาริชาติ มณีมัย, ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร, ภัทร์ชนน ชูเศษ, อรัญญา แซ่ทั่ง, รติพร รักษาวงศ์, และฐาปนี เปรมจิตร. (2559). คุณภาพการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ตามแนวปฏิบัติด้านการควบคุมคุณภาพของสำนักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1),117-128.
ปริยากร ปริโยทัย และสุภัทรษร ทวีจันทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 1(2), 8-20.
เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีใน ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2560). ปัจจัยของมาตรฐานการควบคุมคุณภาพที่มีผลต่อความสำเร็จของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(2), 52-64.
สุภาพร แช่มช้อย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวปฏิบัติงานบัญชีของนักบัญชีไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 10(3), 73-80.
สุภาพร ดอกไม้ทอง และวรวิทย์ เพ็ชรรื่น. (2560). ศักยภาพของสำนักงานบัญชีในเขตภาคเหนือตอนล่างสำหรับการเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(1),122-131.