มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เงินท้วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในการการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัด และการบริหารจัดการ ศาสนสมบัติของวัด รวมทั้งการจัดการรายได้ของวัด และการจัดทำบัญชีของวัด จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ในเรื่องของการกำหนดรูปแบบ การแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดที่ไม่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารวัดในพุทธศาสนาและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของวัดในปัจจุบัน โดยเจ้าอาวาสมีหน้าที่ในการบำรุงรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าอาวาสจะแต่งตั้งผู้จัดประโยชน์ของวัดหรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ไวยาวัจกร” เป็นผู้ดูแลจัดการเรื่องต่าง ๆ ในวัด และการบริหารจัดการรายได้ของวัด ซึ่งจะต้องให้วัดนั้นปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบในรูปแบบเดียวกันให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เพื่อให้วัดดำเนินงานภารกิจต่าง ๆ ให้สำเร็จ ลุล่วงด้วยดีจึงจะต้องมีการควบคุมดูแลงานด้านต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเป็นระบบ และตามวัตถุประสงค์ที่วัดได้กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติน จันทร์สนธิมา. (2561). การจัดการศาสนสมบัติของวัด: มุมมองตามทรรศนะทางพระธรรม วินัยกฎหมายคณะสงฆ์และกฎหมายบ้านเมือง. บทบัณฑิตย์, 70(2), หน้า 31.
กองการเจ้าหน้าที่. (2552). สาระสำคัญเกี่ยวกับธรรมาภิบาล. วารสารกรมโยธาธิการและผังเมือง, 28, 27-35.
พระมหาดนัย วงศ์พรหม. (2558). ความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการบริหารวัดในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2539). การบริหารวัด. กรุงเทพฯ: สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย.สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). ข้อมูลพื้นฐานพระพุทธศาสนา ประจำปี 2554. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.