ปัจจัยทางการจัดการการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล การจัดการทางการตลาด และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการจัดการทางการตลาด และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยการจัดการทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของคอแครน (W.G. Cochran) รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและ (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคล โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. ความสัมพันธ์ปัจจัยการจัดการทางการตลาด พบว่าด้านการส่งเสริมการตลาดความสัมพันธ์ในระดับสูง (r =.843) และความสัมพันธ์พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ พบว่าด้านการค้นหาข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ ในระดับสูง (r=.743) 3. ปัจจัยการจัดการทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยสามารถร่วมกันทำนาย (R2= 0.80.7, R2adjusted= 0.651, F=465.3, p< 0.001) 4. ข้อค้นพบการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องมีการวางแผนปัจจัยการจัดการตลาดให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษชนก จงใจรักษ์. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการทีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องปรับอากาศของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา และอิงอร ตั้นพันธ์ (2559). ศึกษาวิจัยเรื่องตัวแบบการสร้างความได้เปรียบเชิงการ แข่งขันในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ปีที่ 8 ฉบับพิเศษ, หน้า 425.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค.พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรรมฤทธิ์ คุณหิรัญ และอรอุมา หนูช่วย. (2556). บทวิเคราะห์เรื่องการปรับตัวของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศไทยประจำเดือนพฤษภาคม. ส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. (พิมพครั้งที่ 9). กรุงเทพ ฯ : จามจุรีโปรดักท์.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
รติพร มาศงามเมือง. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อกับการให้ระดับความสําคัญของส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อเครื่องปรับอากาศในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท ธีระฟิล์ม และ ไซเท็ก จำกัด.
สุภชัย สำราญพฤกษ์. (2556). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด, คณะบริหารธุรกิจ.
อัจฉรา นพวิญญูวงศ์. (2550). ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ และการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการขายเสื้อเชิ้ตบุรุษมตีราสินค้าในตลาดบน. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.
Kotler, P. (1997).Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed). New Jersey: Asimmon &Schuster