มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาเหยื่อผู้เสียหายในคดีอาญา และสิทธิในการได้รับการเยียวยาจากรัฐ

Main Article Content

เทวราช สนโศรก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือศึกษามาตราทางกฎหมายในการเยียวยาและช่วยเหลือเหยื่อผู้เสียหายในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายค่าทดแทนจำเลยและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ซึ่งได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดอัตราการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ส่วนจำเลยจะได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือปรากฏว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดและได้ถอนฟ้องคดีไป ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่บังคับใช้กฎหมายมาเป็นระยะเวลาถึงสิบกว่าปี พบว่ามีผู้เสียหายหรือทายาทของผู้เสียหายที่ได้ถึงแก่ความตายจำนวนกว่าร้อยละแปดสิบ ไม่ได้ยื่นขอค่าตอบแทนภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด ส่วนจำเลยต้องยื่นภายในเวลาเดียวกันนับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด จึงทำให้ไม่อาจขอรับค่าตอบแทนหรือค่าทดแทนได้เพราะสาเหตุหลักของผู้เสียหายที่ไม่ได้ยื่นเพราะไม่รู้ถึงสิทธิดังกล่าว ดังนั้นสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอที่ผู้เสียหายมีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายดังกล่าวจะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่นโดยที่ตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการกระทำความผิดนั้น ดังนั้นหากว่าผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในการกระทำความผิด ผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะขอรับค่าตอบแทนนี้ได้เลย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนะรัตน์ ผกาพันธ์. (2560). มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นภาพร สุทธิวงษ์. (2555). การจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด ทางอาญา : ศึกษาผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2524). กฎหมายทดแทนความเสียหายแก่เหยื่ออาชญากรรม:แนวคิดทางด้านรัฐสวัสดิการ. วารสารนิติศาสตร์. หน้า 73.
ศุภมาศ พยัฆวิเชียร ศุขโข สืบสุข และผกาภรณ์ เถื่อนชัย. (2551). หน่วยที่ 11 การคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา. เอกสารการสอนชุดวิชาการคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพของประชาชน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสวก ภาศักดี. (2543). สิทธิได้รับค่าตอบแทนจากรัฐของผู้เสียหายในคดีอาญาตามมาตรา 245 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
อัญชลี ฉายสุวรรณ. (2534). การทดแทนผู้เสียหายในคดีอาญาหรือเหยื่ออาชญากรรมโดยรัฐ.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.