อิทธิพลของการกล้าเผชิญความเสี่ยงที่อยู่ในฐานะตัวแปรปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์สู่ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธัญนันท์ บุญอยู่
สุชารัตน์ บุญอยู่
กนกอร บุญมาเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทุนมนุษย์ การกล้าเผชิญความเสี่ยงและผลการดำเนินงานขององค์การ และ (2) การกล้าเผชิญความเสี่ยงที่อยู่ในฐานะตัวแปรปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์สู่ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร มีระดับทุนมนุษย์ การกล้าเผชิญความเสี่ยงและผลการดำเนินงานขององค์การมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) การกล้าเผชิญความเสี่ยงเป็นตัวแปรปฏิสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างทุนมนุษย์สู่ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ของการศึกษาที่แตกต่างกันที่สามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ต้องอาศัยทุนมนุษย์และการกล้าเผชิญความเสี่ยงให้เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2561). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จาก http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลของความสามารถทางนวัตกรรมในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การจัดการความรู้ และการเป็นผู้ประกอบการสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, ฉบับพิเศษ, 44-62.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มนตรี พิริยะกุล. (2558). ตัวแปรกำกับและตัวแปรคั่นกลางในตัวแบบสมการโครงสร้าง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 11(3), 83-96.
มนตรี พิริยะกุล. (2558). ตัวแปรคั่นกลางและการทดสอบอิทธิพลทางอ้อม. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 2(1), 11-31.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2561). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-2563: อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม, 2562, จาก https://www.krungsri.com/bank/get media/970ceac5-ac54-4aad-988e-9e376a629a03/IO_Electrical_Appliances_180 907_TH_EX.aspx.
สุนันทา มิ่งเจริญพร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับผลการดำเนินงานขององค์การของธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. วารสารวิทยบริการ, 24(2), 157-167.
Chin, W. W. (2001). PLS graph user’ s guide version 3.0. Retrieved April 8, 2019, from http://www.Pubinfo.vcu.edu/carma/documents.
Fahy, J. & Smithee, A. (1999). Strategic Marketing and the Resource Based View of the Firm. Academy of Marketing Science Review, 10, 1-18.
Jalali, A., Jaafar, M., Talebi, K., & Halim, S. A. (2014). The moderating role of bridging ties between risk-taking, proactivness and performance: The evidence from Iranian SMEs. International Journal of Business and Management, 9(5), 74-87.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Ling, Y.-H. (2013). The influence of intellectual capital on organizational performance: Knowledge management as moderator. Asia Pac J Manag, 30, 937-964.
Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. Academy of Management Review, 21(1), 135-172.
Marimuthu, M., Arokiasamy, L., & Ismail, M. (2009). Human capital development and its impact on firm performance: Evidence from developmental economics. The Journal of International Social Research, 2(8), 265-272.
Mohammadi, R., Sherafati, M., & Ismail, M. N. B. (2014). Factors affecting intellectual capital and its role in financial performance of organization. Indian Journal Science Research, 5(1), 314-320.
Montazeri, M., MollaHosseini, A., & Forghani, M. A. (2013). Evaluation of relationship between intellectual capital and structure of organizational corporate entrepreneurship (CE): Case study staff of Maskan Bank, Kerman Province. International Research Journal of Applied and Basic Sciences, 6(1), 29-35.
Reed, K. K., & Srinivasan, N. (2005). Responding to a changing environment: Adapting human and social capital to impact performance. Academy of Management Proceedings, A1-A6.
Ringle, C. M., Wende, S., & Will, A. (2005). SmartPlS 2.0 M3. Hamburg: SmartPLS. Retrieved July 21, 2019, from https://www.smartpls.com/smartpls2.
Teixeira, A. (2002). On the link between human capital and firm performance: A theoretical and empirical survey. FEP Working Paper, 121, 1-3.