ปัญหาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา ศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า

Main Article Content

บารมี กวักทรัพย์
วริยา ล้ำเลิศ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาในเรื่องปัญหาการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยการบังคับใช้สิทธิทางอาญา โดยศึกษาเฉพาะกรณี การปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า และความผิดทางอาญาจากการละเมิดสิทธิดังกล่าวเท่านั้น ไม่รวมถึงสิทธิหรือการบังคับสิทธิทางแพ่ง โดยศึกษาจากกฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ รวมไปถึงการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนากฎหมายคุ้มครองและความผิดทางอาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยที่เหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่า การบังคับใช้โทษทางอาญาจากการการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและกำหนดโทษทางอาญาจากการละเมิดเครื่องหมายการค้าไว้แตกต่างกันอีกทั้งยังได้กำหนดให้สภาพความรับผิดทางอาญาจากการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นความผิดอาญาที่คู่กรณีไม่อาจยอมความกันได้หรือเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการใช้กฎหมายอาญาเฟ้อ ทำให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คเณศ เต็งสุวรรณ์ .(2558 ).ปัญหาการจัดระบบกฎหมายที่กำหนดความผิดอาญาในประเทศไทย. คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายอาญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุมพล ภิญโญสินวัตน์. (2545). หลักเหตุผลของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาณิศา บุญวิวัฒน์. (2557). การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนเพื่อลวงขายสินค้าของตน (Refilling). สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เอกวิทย์ สารการ. (2550). ปัญหากฎหมายในการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.