มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเด็นปัญหาความหมายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ความหมายของภาชนะบรรจุภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และปัญหาการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มิได้ให้คำจำกัดความของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไว้จึงทำให้เกิดความไม่ชัดเจนของคำนิยามว่าควรถูกระบุว่าเป็นยา หรือเป็นอาหารประเภทใหม่ แม้ว่าความหมายของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะถูกกล่าวไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 293 พ.ศ. 2548 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างไรก็มิได้มีการบัญญัติ ความหมายถึงเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นการเฉพาะในส่วนความหมายของภาชนะบรรจุภัณฑ์นั้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 พ.ศ. 2528 ว่าด้วยเรื่อง ภาชนะบรรจุก็มิได้กำหนดความหมายไว้ เนื่องจากประกาศฉบับดังกล่าวมีการประกาศใช้มาเป็นเวลานาน และการควบคุม การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จากการศึกษากฎหมายการโฆษณาของสหราชอาณาจักรมีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมโฆษณาไว้โดยตรง คือ The Sale of Goods Act และมีกฎหมายกลาง คือ Trade Descriptions Act of 1968 ซึ่งกฎหมายของประเทศไทยไม่มีการบัญญัติกฎหมายเป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการโฆษณา การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 293 พ.ศ. 2548 โดยปรับปรุงความหมาย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ภาชนะบรรจุภัณฑ์ เพราะการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีลักษณะที่อยู่ในรูปแบบกระจัดกระจายในส่วนการควบคุมการโฆษณาควรมีการเพิ่มเติมไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในส่วนการควบคุมการโฆษณาควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 และมาตรา 41 ในเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไว้โดยเฉพาะ
Article Details
References
นาฏอนงค์ นามบุดดี. (2558). อนาคตของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และการปรับกลยุทธ์การตลาด ในไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, หน้า 353-374.
นภดล จันโหนง. (2560). ปัญหาทางกฎหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กฎหมายเพื่อการบริหาร. คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.