อิทธิพลเชิงโครงสร้างของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และความเชื่อมั่นต่องบการเงินที่มีต่ออัตราส่วนทางการเงินของ บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน การกำกับดูแลกิจการที่ดี ความเชื่อมั่นต่องบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน (2) ความเชื่อมั่นต่องบการเงินเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน และ (3) ความเชื่อมั่นต่องบการเงิน เป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย จำนวน 258 แห่ง โดยใช้ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน หรือผู้บริหารในสายงานการเงินหรือบัญชีเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน การกำกับดูแลกิจการที่ดี ความเชื่อมั่นต่องบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินของของบริษัทจดทะเบียน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.27, 3.29, 3.39 และ 3.36 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.696, 0.723, 0.755 และ 0.758 ตามลำดับ (2) ความเชื่อมั่น ต่องบการเงินเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนทางการเงินของของบริษัทจดทะเบียนโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.297 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.486 และ (3) ความเชื่อมั่นต่องบการเงินเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีและอัตราส่วนทางการเงินของของบริษัทจดทะเบียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.269 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.474
Article Details
References
ชไมพร รัตนเจริญชัย และกรวิกา ไชยวงศ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรการสร้างกระแสเงินสดและผลการดำเนินงานทางการเงิน: หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(4), 55-68.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). คู่มือบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก https://www.set.or.th/th/regulations/supervis ion/files/SET_Manual_2014.pdf.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก https://www.set.or.th.
ทับทิม วงศ์แพทย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของกลุ่มผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธีระ เทิดพุทธธรรม. (2561). ตัวกำหนดการกำกับดูและกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงานการบริหารด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
เบ็ญจวรรณ ชาติจอหา. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความเชื่อมั่นต่องบการเงินและภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Muhammad, Z., Nurdin, D., Haris, N., & Miru, S. (2017). The effect of risk management and good corporate governance on financial performance and its impact on the firm value. IOSR Journal of Business and Management, 19(5), 94-105.
Nazir, M. S., & Afza, T. (2018). Does managerial behavior of managing earnings mitigate the relationship between corporate governance and firm value? Evidence from an emerging market. Future Business Journal, 4, 139-156.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.