การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์น้ำสลัดสำหรับรับประทาน กับผักเกล็ดน้ำแข็ง

Main Article Content

กมล สงบุญนาค
พัชรพล มหามิตร
นภเกตน์ สายสมบัติ
จุรีมาศ ชะยะมังคะลา
จุฑารัตน์ พัฒนาทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสลัดและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำสลัดสำหรับรับประทานกับผักเกล็ดน้ำแข็ง โดยทำการศึกษาสูตรน้ำสลัดมาตรฐานและทำการคัดเลือกสูตรน้ำสลัดที่เหมาะสม 5 สูตรด้วยการประเมินทางประสาทสัมผัสของผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร จากนั้นทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสแบบเรียงลำดับความชอบ โดยมีผู้ทำการทดสอบ 30 คน ได้สูตรน้ำสลัด 2 สูตร แล้วนำไปทำการศึกษา การยอมรับของผู้บริโภค โดยใช้ 9-Point Hedonic Scale กลุ่มตัวอย่างในการทดสอบ 100 คน ด้วยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แล้วทำการวิเคราะห์คุณลักษณะของน้ำสลัดในด้าน สี กลิ่น รสชาติโดยรวม ความข้น และความชอบโดยรวม ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Paired Samples t-test จากนั้นทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความชอบผลิตภัณฑ์น้ำสลัด 2 สูตร จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพ ด้วยวิธี Independent Samples t-test

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2561). จำนวนประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2543 - 2561 และประมาณการของ พ.ศ. 2562 – 2565. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2561, จาก http://www.bangkok.go.th/pipd/page/sub/16730/สถิติด้านสังคม
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2554). น้ำสลัดและซอส. กรุงเทพมหานคร: แสงแดด.
นำสุข ศรีเจริญ ธงชัย สุวรรณสิชณน์ และ สุนทรี สุวรรณสิชณน์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำสลัดใส และอิทธิพลของเพศและอายุต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์และราคา. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56: สาขาวิทยาศาสตร์และพันธุวิศวกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วันที่ 30 มกราคม -2 กุมภาพันธ์ 2561. หน้า 654-662.
บุศราภา ลีละวัฒน์ และไตรรัตน์ แก้วสะอาด. (2561). การพัฒนาน้ำสลัดไขมันต่ำเสริมแป้งข้าวก่ำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(5), หน้า 774-789.
วาสนา นาราศรี. (2554). น้ำสลัดไตล์ญี่ปุ่น. Food, 41(3), หน้า 240-242.
วิภาดา มุนินทร์นพมาศ และ ภารดี พละไชย. (2554). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านชายแดนใต้: หัวข้าวเกรียบ(ปาลอ-กรือโป๊ะ). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สถาบันอาหาร. (2555). รายงานสรุปงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม. วันที่ 6-9 มีนาคม 2555 ณ Makuhari Messe – Nippon Convention Center. กรุงเทพมหานคร.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์. (2562). ไอซ์แพลนท์ปลูกได้แล้ว. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1498930.
Howard R. Moskowitz, Jacqueline H. Beckley, Anna V. A, Resurreccion. (2012). Sensory and Consumer Research in Food Product Design and Development. Second Edition. United State of America: A john Wiley & Sons Ltd., Publication.
Park, K.S., Kim, S.K., Cho, Y, et al. (2016). A coupled model of photosynthesis and stomatal conductance for the ice plant (Mesembryanthemum crystallinum L.) a facultative CAM plant. Horticulture. Environment and Biotechnology, 57, 259-265.