กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย กรณีศึกษา : ความรับผิดของผู้ประกอบการที่จำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว

Main Article Content

คัตนานท์ ยะพานิช
วริยา ล้ำเลิศ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาในเรื่องกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย กรณีศึกษาความรับผิดของผู้ประกอบการที่จำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาความรับผิดของผู้ประกอบการในเรื่องความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ใช้แล้วตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.25512)เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและเพื่อเสนอมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้วจากการศึกษา พบว่า พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มีข้อกฎหมายที่กำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการไว้อย่างชัดเจน โดยนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด หรือ ความรับผิดเด็ดขาดมาบังคับใช้ รวมถึงนิยามของ สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไว้ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ อีกทั้งยังมีการกำหนดขอบเขตความรับผิดในส่วนค่าเสียหายในส่วนของจิตใจ และค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษไว้เพื่อปรามผู้ประกอบการด้วย อีกทั้งยังได้มีการบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีความกว้างในการคุ้มครองผู้บริโภค มากกว่ากฎหมายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ที่บังคับใช้ แต่เมื่อผู้เขียนได้ทำการศึกษาความเป็นมาและเจตนารมณ์ในการร่าง พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ทำให้พบว่า กฎหมายฉบับนี้มุ่งบังคับใช้ กับ ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากเท่านั้น (Mass Production) ไม่ได้รวมไปถึง ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วที่ผลิตรถยนต์เป็นคันต่อคัน แม้ว่านิยามของคำว่า “ผลิต” ตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ จะหมายถึงการประกอบ ดัดแปลง ด้วยก็ตาม เนื่องจากในการซ่อมแซมฟื้นฟูสภาพรถยนต์ใช้แล้วจะมีหลายส่วน ส่วนอะไหล่ในเครื่องยนต์บางชิ้นต้องมีการถอดออกมาเพื่อซ่อมแซม จากนั้นจึงประกอบเข้าไป รวมถึงหลายกรณีที่มีการดัดแปลง เอาอะไหล่รถยนต์รุ่นอื่นที่ไม่ตรงรุ่นมาใช้ เพื่อลดต้นทุนในการขาย สร้างกำไรได้มากขึ้น ให้แก่ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการกฤษฎีกา. (2545). รูปแบบการจัดทำเจตนารมณ์กฎหมาย. รายงานการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ). ครั้งที่ 3 (3/2546) 3/2545. วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2545.
Kobayashi Hideyuki (ed.).(1998).SHINSEIZOUBUTSUSEKININ HOU TAIKEI II. ระบบกฎหมาย (Product Liability).
Luke Nottage.(2004). PRODUCT SAFETY AND LIABILITY LAW IN JAPAN. FROM MINAMATA TO MAD COWS. P. 28.
Roger Leroy Miller and Gaylord A. Jentz,.(2005). BUSINESS LAW TODAY. TEXTS AND CASES