มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี คำพิพากษาของศาล และงานวิจัยเกี่ยวกับความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ศึกษาปัญหาของการทำละเมิดของพนักงานบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ศึกษามาตราทางกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้มีความเหมาะสมมากขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเอกสาร โดยการสืบค้นจากเอกสารปฐมภูมิ โดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย บทความทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจผลการศึกษาพบว่า เรื่องความชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) นั้นศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มิได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญจึงมีผลบังคับใช้ได้ เมื่อบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินการแปลงสภาพ และขายหุ้นตามกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
Article Details
References
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2547). การแปรรูป ปตท. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562, จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=243.
เบญจมาศ แก้วไวยุทธิ์. (2555).การนำหลักเกณฑ์กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มาใช้กับพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)”. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2562, จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1776.
สุรพล นิติไกรพจน์. (2533). การบังคับใช้กฎหมายและการกำหนดนโยบายสาธารณะในกรณีรัฐวิสาหกิจ. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 9 ตอน 1, (เมษายน 2533).
สำนักงานกฤษฎีกา. (2554). โครงการสัมมนารบฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : ณ โรงแรม เดอะทวิน ทาวเวอร์กรุงเทพฯ วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2554.