แนวทางการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปภายใต้โครงการผลักดันเกษตรกรก้าวสู่เกษตรกรปราดเปรื่องของจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการดำเนินงานขั้นต้นก่อนกระบวนการวิจัยตามแผนงานหลักที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงาน คณะกรรมวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและสภาพปัจจุบันในการดำเนินการของกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปภายใต้โครงการผลักดันเกษตรกรก้าวสู่เกษตรกรปราดเปรื่องของจังหวัดลำปาง เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาเกษตรกรยกระดับสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) สนทนากลุ่มย่อย (focus group) อบรมและระดมสมอง (Workshop Training) ให้กลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป 25 กลุ่ม จำนวน 76 คน ประชุมและสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปางได้แก่ เกษตรจังหวัด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ เกษตรอำเภอ และเจ้าหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปทั้ง 25 กลุ่ม บางกลุ่มไม่พร้อมที่จะผลักดันสู่เกษตรกรคุณภาพหรือเกษตรกรปราดเปรื่องเพราะขาดคุณสมบัติพื้นฐานสำคัญคือองค์ความรู้เทคโนโลยีการเกษตร ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจเข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลของรัฐ การจัดการผลผลิตไม่เชื่อมโยงกับการตลาดและการขาย ไม่คำนึงถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยผู้บริโภคตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) หมายถึงแนวทางการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด เกษตรอินทรีย์ หรืออื่นๆ ไม่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสังคมและส่วนใหญ่ไม่รู้สึกภูมิใจความเป็นเกษตรกร ส่งผลให้สภาพการดำเนินการปัจจุบันของกลุ่มส่วนใหญ่ไม่มีการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต การจัดการกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์จึงยังไม่มีมาตรฐานดีพอไม่มีรูปแบบการตลาดที่ดี และไม่เห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้และการเชื่อมโยงเครือข่ายเท่าที่ควร
Article Details
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). แนวทางการแปรผลผลิตทางการเกษตร. คอลัมภ์การปรับปรุงผลิต. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/production2/qs-agriculturegoods.
กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). SMART FARMER รู้ไว้...ทำได้จริง คัมภีร์ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ. คอนเซ็พท์พริ้น.
ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชามคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารเกษตรพระวรุณ, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน).
ธีรศิลป์ กันธา และ คณะฯ. (2557). แนวทางการพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอำเภอชายแดนจังหวัดตาก. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ, ปีที่ 4, ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม – ธันวาคม).
สมชาย ชาญณรงค์กุล. (2560). Smart Farmer ฝันเฟื่องพัฒนาเกษตรกรไทย. วารสาร Smart Farmer ต้นแบบ อนาคตภาคการเกษตรที่ยั่งยืน,กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ไลฟ์สไตล์คนเมืองและกระแสสุขภาพมาแรง ดันแปรรูปเกษตรโต. สืบค้นเมื่อ3 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Docu ments/Urban-Lifestyle_Healthy-Trend_Agricultural-Processing.pdf.
Roberts, E.B., & Meyer, M.H. (1991). Product Strategy and Corporate success. MA: Sloan School of Management, Massachusetts Institute of Technology