ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

ธวัชชัย ไชยพงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของบทบัญญัติกฎหมายในการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อำนาจหน้าที่หน่วยงานในการเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และปัญหาการค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ภายหลังการอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจากการศึกษาวิเคราะห์ตามขอบเขตของการศึกษารวมถึงกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศพบว่า ระเบียบกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดประเภทกิจการที่จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นพิจารณาที่ขนาดของกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงจะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยมิได้พิจารณาประเภทของกิจการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ผู้จัดทำโครงการใช้วิธียื่นขออนุมัติ เป็นรายโครงการและเป็นโครงการที่มีลักษณะเป็นโครงการติดกันจึงทำให้ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมนอกจากนั้น อำนาจหน้าที่หน่วยงานอนุมัติหรืออนุญาตรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นอำนาจของสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งพิจารณาโครงการทั้งประเทศจึงก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้า และพิจารณารายงานไม่ทันต่อการจัดทำโครงการ แม้จะมีคณะกรรมการผู้ชำนาญการก็ตามก็ไม่อาจจะพิจารณาให้รวดเร็วได้ นอกจากนั้น ถ้ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้รับอนุมัติแล้วปรากฏว่าพบข้อเท็จจริงใหม่ กรณีข้างต้นก็ไม่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ จึงทำให้ผู้จัดทำโครงการใช้วิธีจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมและขออนุมัติรายงานใหม่กรณีเช่นนี้ย่อมทำให้การจัดทำโครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยมิได้พิจารณาที่ความเหมาะสมของการพบข้อเท็จจริงใหม่ แม้ข้อเท็จจริงนั้น จะมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์หรือสิ่งแวดล้อมเพียงใดก็ตาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 (ตอนพิเศษ 3 ง), หน้า 1.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). กำหนดโครงการกิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม.ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136
(ตอนพิเศษ 3 ง), หน้า 1.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 109 (ตอนที่ 37), หน้า 1.
สิรินภรณ์ ทองคำฟู. (2561). ข้อมูลเทคนิค กฟผ.แม่เมาะ. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จาก http://maemoh.egat.com/mm_database/index.php?option=com_content&view=article& id=328:2018-04-04-08-49-19&catid=93&Itemid=1390.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2549). รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562, จาก http://www. bu.ac. th/knowledgecenter/executive _ journal/ july./ law13. Pdf.