ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของลูกค้าในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ปฐมพงค์ กุกแก้ว
ภาวินี เมืองโคตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้ารถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด คือ ด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ 2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้านสถานภาพสมรส อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรชนก ดิษฐเล็ก. (2558). การตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในจังหวัดนนทบุรี. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2400/1/kornchanok_ditl.pdf.
กรมการขนส่งทางบก. (2562). สถิติรถจดทะเบียนใหม่ป้ายแดงทั่วประเทศ เฉพาะครึ่งปีแรก (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2562). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2345.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และSAS. ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนกร เอื้อวิทยาวุฒิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 8(1): 17-32.
พัชญ์กมณพัชญ์ สุวรรณดี และ วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2561). การตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ 1,000 ซีซีขึ้นไปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 950-972.
วรรณธิกา คำบุญมา และคณะ. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์โตโยต้า วีออส ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2): 301-311..
วิชิต อู่อ้น. (2554). การวิจัยและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุทิน ชนะบุญ, (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562, จากhttp://kkpho.go.th/km/index.php/2017-08-10-06-37-01/category/2-r2r-5.