การกำหนดกลยุทธ์เพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในสินค้าโอทอปไทย

Main Article Content

วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการกำหนดกลยุทธ์เพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในสินค้าโอทอปไทย มีวัตถุประสงค์ ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน วิกฤต และโอกาสของสินค้าโอทอปไทย 2) เพื่อกำหนดกลยุทธ์เพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในสินค้าโอทอปไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการโอทอปไทยจำนวน 15 ราย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Qualitative Research) จากนั้นจึงดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยและสรุปผลได้ว่า 1) กลยุทธ์เชิงรุก คือ สร้างการรับรู้ถึงเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของสินค้าโอทอป ที่เชื่อมโยงต่อการนำไปใช้ และเข้าร่วมกิจกรรมแสดงสินค้ากับหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง 2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ สื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความชำนาญของผู้ผลิต สร้างมูลค่า ดึงลูกค้าระดับสูง ที่มีความสามารถในการจ่ายสูง และ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน 3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ วางแผนการผลิตตามความนิยมของผู้บริโภคยุคใหม่ เพื่อให้เกิดรายได้แก่สมาชิกอย่างยั่งยืน และพัฒนาฝีมือแรงงานรุ่นหลังให้มีทั้งทักษะทางฝีมือพร้อมทั้งทำโครงการพี่เลี้ยงพาสมาชิกใหม่ออกร้านแสดงสินค้า 4) กลยุทธ์เชิงรับ คือ ผู้ประกอบการอาจยกเลิกผลิตภัณฑ์ตัวที่ทำให้ขาดทุน และ จ้างแรงงานชั่วคราว หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยผลิตในช่วงที่มีการผลิตจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ อนันต์เลิศสกุลและจิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2561). แนวทางการบริหารจัดการองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป กรณีศึกษาประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้.วารสารปัญญาภิวัฒน์,10(2),128-135.
ไทยรัฐออนไลน์.(2560).อนาคตโอทอป.สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561,จาก https://www.thairath.co.th/content/826418.
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC.วารสารนักบริหาร, 34 (1), 177-179.
ปราณี วิลัยรัตน์และวีระพงษ์ กิติวงค์.(2559).ความสําเร็จในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ : บทเรียนสำคัญของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดพะเยา. เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1, 540-552.
ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์.(2551).การจัดการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษากลุ่มดอกไม้ใบยางจังหวัดปัตตานี.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,ปีที่ 4 (1),7-26.
พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ , ชมพูนุท โมราชาติ และ กัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2560).การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2) , 207-238.
วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์.(2557).พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าตลาดนิชของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,
3(2), 39-52.
ศศิเพ็ญ พวงสายใจ. (2551). การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกของชุมชน กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตนํ้ามันงาจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 1 (1), 46-55.
สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์ และชุติระระบอบ.(2555). โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหารและ ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารมฉก.วิชาการ, 15 (30), 89-105.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.(2560). โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560,จาก http://district.cdd.go.th/bangpahan/services.
MarketingOop. (2562). 3 จุดอ่อน “OTOP ไทย” กับ 5 เคล็ดลับความสำเร็จ 20 แบรนด์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2562,จาก https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/decoding-the-success-of-thai-local-brand/.