ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยากับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

อัศนีย์ ณ น่าน
กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ
ประภัสสร วรรณสถิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยากับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 313 คน ทำการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของบุคลากรโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านจิตวิทยาของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ประเด็นพันธะสัญญา มีระดับความคิดเห็นสูงกว่าด้านความยุติธรรมในองค์กรโดยประเด็นพันธะสัญญา 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านจิตใจ ความรู้สึก ด้านบรรทัดฐาน และด้านการคงอยู่กับองค์กร ประเด็นความยุติธรรมในองค์กร ได้แก่ ด้านการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ด้านกระบวนการ และด้านผลตอบแทน 2) ระดับความคิดเห็นการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก เรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการแสวงหางานที่มีลักษณะเป็นกิจวัตรประจำวันมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านการมุ่งเน้นผลประโยชน์ระยะสั้น ด้านการตอบสนองทางอารมณ์ต่อการเปลี่ยนแปลง และด้านความหนักแน่นทางความคิด ตามลำดับ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านจิตวิทยาของพนักงานมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับต่ำที่ระดับนัยสำคัญ .01 เมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่า ทั้งสองประเด็นมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับต่ำ อย่างไรก็ตามแม้ว่าพันธะสัญญาและความยุติธรรมในองค์กรจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงานขององค์กรที่อยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประสิทธิภาพแต่ทั้งสองตัวแปร มีความสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนฯ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). ข้อมูลรายชื่อและจำนวนเตียงโรงพยาบาลเอกชน.นนทบุรี: กระทรวงฯ.
ธนาคารออมสิน. (2018). ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562, จาก https://www.gsb.or.th/GSB-Research.
นวัสนันท์ วงศ์ประเสริฐ. (2559). “ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร: ความท้าทายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความหลากหลายของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย”. Journal of Community
Development Research (Humanities and Social Science, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน).
พูลสุข นิลกิจศรานนท์. (2560). แนวโมอุตสาหกรรม ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/3308e1d8-3dd5-4799-848c-b9ffea862dbe/IO_Private_Hospital_2017_TH.aspx.
โพสต์ทูเดย์. (2562). ธุรกิจโรงพยาบาลปี 2563 กำไรหด. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/economy/news/610493.
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2562). แนวโน้ม อุตสาหกรรมปี 2562-64 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน, สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/42e5f42d-4465-4304-92af-60e3c2539460/IO_Private_Hospital_190624_TH_EX.aspx.
สำนักงานอิศรา. (2562). ไอทีดี เผยแนวโน้มทิศทางการค้าภาคบริการไทย แนะภาคธุรกิจวางกลยุทธ์สร้างมูลค่า. สืบค้นเมื่อ10 มีนาคม 2562, จาก https://www.isranews.org/isranews-pr-news/73447-news_73447.html.
สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ. (2551). รายงานธุรกิจบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการส่งออก.
AIDossari, Sultan. (2016). Overcoming Resistance to change in SAUDI ARABIA Organizations: a correlation study between resistance to change and organizational justice. Dissertation doctor of Education in Organizational Leadership Pepperdine University.
Cropanzano, R., Bowen D. E. & Gilland S. W. (2007). The management of organizational justice. Academy of Management Perspective, Nov, 34-48.
Foster, Rex D. (2010). “Resistance, justice and Commitment to Change” Human Resource Development Quarterly, 21(1), 3-39.
Meyer, John P., et al. (2007). “Employee Commitment and Support for an Organizational Change Test of the Three Component Model in Two Cultures” Journal of Occupational and Organizational Psychology, 80(2), 185.
Meyer, J. & Allen, N. (1990). “The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organization” Journal of Occupational Psychology , 63.
Muchinsky, P.M. (2006). Psychology Applied to work: An introduction to Industrial and Organization Psychology. 8th ed. Australia: Thomson Wadsworth.
Noble, C. & Mokwa, M. (1999). “Implementing Marketing Strategies : Developing and Testing a Managerial Theory”. Journal of Marketing, 63(4), 57-73.
O' Reilly, C. A. & Chatman, J. (1986). “Organizational commitment; Helping Behavior; Social Compliance; Affiliation Psychology; Dependency Psychology”. Journal of Applied Psychology, 492-499.
Sofat, Kiran, Ravi Kiran and Sanjay Kaushik. (2015). “Management of Organizational Change and its Impact on Commitment : a Study of Select Indian IT Companies” Global Business and Management Research : An International Journal , 7(3), 69-86.