โครงการการส่งเสริมการจัดตั้งชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สัญชัย ห่วงกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาโครงการการส่งเสริมการจัดตั้งชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อโครงการการส่งเสริมการจัดตั้งชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร และ3)เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อโครงการการส่งเสริมการจัดตั้งชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร การการดำเนินโครงการ จัดตั้งชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชนมี 3 ภาคส่วนที่มีบทบทสำคัญในการจัดตั้ง กล่าวคือ ผู้สูงอายุในชุมชน ผู้นำชุมชน และบุคลากรจากหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยการที่จะทำให้ชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นและคงอยู่ได้นั้นจำเป็นต้องให้เกิดพลังในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นสมาชิกของชมรมให้ชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุนั้น ริเริ่ม และดำเนินการไปด้วยตัวผู้สูงอายุเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนในที่สุด ผ่านรูปแบบในการปรับปรุงตัวเองตนเองด้านการออกกำลังกายและสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงในการพัฒนาคุณชีวิต โดยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานครผลการดำเนินโครงการ พบว่า โครงการการส่งเสริมการจัดตั้งชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุในชุมชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ส่งผลให้สภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้สูงอายุมีผลดี มั่นคง ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในระยะยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนองค์ความรู้ในด้านปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวที่มีการบริหารจัดการในประเด็นที่ปัญหา ทั้งในทางตรงและทางอ้อมที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลถึงการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาและอุปสรรคการดูแลผู้สูงอายุเมื่อเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. (2537). "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ1 มีนาคม 2558, จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558.
นครชาติ เผื่อนประถม. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, Vol. 4 No. 2 (July – December),196-206.
วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ และคณะ. (2549). โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย. นนทบุรี : สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข.
สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2547). สถิติสาธารณสุข .กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข.
อำพล จินดาวัฒนะ และ คณะ. (2547). พัฒนาการทางนโยบายของการสร้างสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.
Carrapatoso, S. (2013). The effectiveness of a national walking progam on physical activity cardiovascular health and environmental perceptions in elderly. Faculty of Sport, University of Porto.
Chodzko-Zajko, W. and A. Shwingel. (2011). Older Adults: Ages 65 an Older, in Complete Guide to fitness & health B. Bushman. American college of sport medicine. United States of America.
Gregson, J. et al.(2001). System,environmental,and policy changes:Using the social- ecological model as a frsmework for evaluating nutrition education and social marketing programs with low-income andiences . Journal of Nutrition Education, 33,S4-S15.
Mcleroy et al. (1988). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: Free Press.