ปัจจัยการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดบริการของธุรกิจคาเฟ่ สำหรับกลุ่ม GEN Z ในจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาดในธุรกิจคาเฟ่ สำหรับกลุ่ม GEN Z ในจังหวัดนครปฐม และวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณภาพการบริการในธุรกิจคาเฟ่ สำหรับกลุ่ม GEN Z ในจังหวัดนครปฐม รวมถึงออกแบบปัจจัยการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดบริการของธุรกิจคาเฟ่ สำหรับกลุ่ม GEN Z ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดในธุรกิจคาเฟ่ มีค่าเฉลี่ย 4.09 และคุณภาพการบริการในธุรกิจคาเฟ่ มีค่าเฉลี่ย 4.10 ซึ่งอยู่ในระดับความคิดเห็นมากเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ด้านส่วนประสมทางการตลาดในธุรกิจคาเฟ่ พบองค์ประกอบใหม่ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พนักงานมีความพร้อมและความเข้าใจในการให้บริการ 2) สภาพแวดล้อมและการให้บริการมีความเหมาะสม 3) การเข้าถึงราคาและบริการของลูกค้า 4) สินค้ามีคุณภาพและความหลากหลาย และ 5) ลูกค้าเข้าถึงได้หลายช่องทาง รวมถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ด้านคุณภาพการบริการในธุรกิจคาเฟ่ พบองค์ประกอบใหม่ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พนักงานเข้าถึงและสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า 2) พนักงานมีความน่าเชื่อถือ 3) มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และ 4) พนักงานมีความเต็มใจในการให้บริการ ซึ่งสามารถนำมาใช้ออกแบบปัจจัยการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดบริการของธุรกิจคาเฟ่ สำหรับกลุ่ม GEN Z ในจังหวัดนครปฐม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฐิติรัตน์ กลับกลาย. (2564). อิทธิพลของคุณภาพบริการ ความยุติธรรมของราคา ภาพลักษณ์และบรรยากาศของร้านกาแฟพรีเมียมต่อความพึงพอใจและความตั้งใจบอกต่อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญสม รัศมีโชติ. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจร้านกาแฟอินดี้ ในเขตภาคกลางตอนล่าง
ของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 2(15), 137-149.
พรนภา ธนโพธิวิรัตน์, วชิรวิทย์ หอมบุญยงค์, อัจฉราภรณ์ อมรสิทธินนท์,รัตนาวดี พัชรภูวดล และ นิสรา เหมโลหะ. (2562). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพของการบริการของร้านขนมหวาน ในรูปแบบคาเฟ่ขนมหวานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 2(13), 215-229.
รจิต คงหาญ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการธุรกิจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุ เขตอันดามัน. Dusit Thani College Journal, 11(Special Issue), 18-30.
ระชานนท์ ทวีผล. (2563). ศักยภาพทางการจัดการคุณภาพบริการของธุรกิจคาเฟ่สัตว์เลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Loei Rajabhat University, 51(15), 12-23.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร. (2562). เครื่องดื่มกาแฟในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ16 สิงหาคม 2564, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=260Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.
Fauzia, A., Suharno and Guritno, A D. 2019. Consumer needs and consumer satisfaction in the creation of co-working space café business concept. Retrieved September 18, 2021, from https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1755-1315/425/1/012032/Meta.
Kotler, P. (2016). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. (15th Global ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Pangaribuan, C. H., Sofia, A. & Sitinjak, M. F. (2020). Factors of Coffe Shop Revisit Intention and Word-of-Mouth by Customer Satisfaction. Journal of Management and Busines, 1(19), 1-14.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L.L. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41 - 50.