แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19

Main Article Content

วรธา มงคลสืบสกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การขับเคลื่อนนโยบายเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานหลังยุคโควิด 19  2) ความท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าหลายภาคส่วนได้เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานในรูปแบบ Up skill, Re skill และ New Skill อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ออกแบบหลักสูตรที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะหลักสูตรด้านการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมการตลาดสมัยใหม่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานนำร่องในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สถาบันยานยนต์ที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อชะลอการว่างงานจากผลกระทบจากโควิด 19 เป็นต้น การดำเนินงานดังกล่าวของภาครัฐอาจพบกับความท้าทายหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ระบบการศึกษาที่   ผลิตบัณฑิตไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โอกาสในการเข้าถึงงาน และการเข้าถึงการพัฒนาทักษะ   ของกลุ่มเปราะบาง เป็นต้น การศึกษานี้ผู้เขียนได้ให้เสนอเชิงนโยบาย อาทิ การติดตามความก้าวหน้าของผู้เข้ารับการฝึกทักษะ การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการทำ MOU ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสถานประกอบการ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย. (2564). ประเทศไทยพร้อมหรือยัง?: เมื่อหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์กำลังจะ disrupt ตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://www.the101.world/labour-skills-and-automation-in-thailand.

ทีปกร วุฒิพิทยามงคล. (2561). Rise of the Robots เทคโนโลยีและภัยแห่งอนาคตที่ไร้งาน. กรุงเทพฯ: ซอลท์

รชา เหลืองบริสุทธิ์. (2564). สำรวจโจทย์ใหม่โลกการทำงานคนเมือง เมื่ออนาคตของงานคืออนาคตของเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/faeA5.

วิชชุลดา เจนเกียรติฟู. (2560). ความไม่สอดคล้องในตลาดแรงงานด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://www.doe.go.th/prd/download/download_by_pool_file/23897.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). แนวโน้มความต้องการบุคลากร ในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต (New S-Curve) และทิศทางนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศไทย พ.ศ.2563-2567. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.

BASE Playhouse. (2021). 21st-Century Skill. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/SYL05.

DPU X Space. (2562). เปิดผลวิจัย ด้านทักษะแรงงานในอนาคต ปรับตัวอย่างไรให้รอด ผลกระทบ AI. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://dpux.dpu.ac.th/prnews/ai.html

SEAC. (2020). ทักษะที่จำเป็นในอนาคตเพื่อให้ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/SFImy

TERRABKK. (2017). ผลวิจัยกับดักอุตฯ 4.0 ขาดแรงงานทักษะ-ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีต่ำ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://www.terrabkk.com/news/191558.

Thaiedreform. (2565). กรรมการปฏิรูปฯ การศึกษา ชี้ปัญหาประชากรวัยแรงงานไทยขาดทักษะจำเป็น เดินหน้าบิ๊กร็อค 1 ขับเคลื่อนโครงการ “Adult Skills Assessment” หวังลดการว่างงานในกลุ่มอายุ 15-24 ปี. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://www.thaiedreform2022.org.