การบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครสวรรค์ 2) วิเคราะห์ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครสวรรค์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชน ในพื้นที่การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยที่ 4.25 การมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่าเฉลี่ยที่ 4.39 และการบริหารจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยที่ 4.02, 2) ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ในทิศทางเดียวกัน ประกอบด้วย การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้การป้องกันโรค การรับรู้หน่วยงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรค และการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติการ ด้านการติดตามประเมินผล ด้านการปรับปรุงแก้ไข และ 3) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างภาพรวมการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กับภาพรวมการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับค่อนข้างสูง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างภาพรวมการมีส่วนร่วมของประชาชน กับภาพรวมการบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โควิด–19 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ครม.ไฟเขียว เลื่อนเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จาก 16 พ.ค. เป็น 1 ก.ค.63. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564,
จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/874861.
กาญจนา ปัญญาธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และ วรรธนี ครองยุติ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 32(1),189-204.
ไทยโพสต์. (2563). ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกพุ่งทะยาน 2.3 ล้านคน สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตใกล้ 40,000. คนสืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/63571.
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ด่วน พบชายอายุ 35 ปี ผู้ป่วย "โควิด-19" เสียชีวิตรายแรกในไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1784036.
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และ ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-38.
ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และ ปิยะกมล มหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9) ,40-55.
พิมณทิพา มาลาหอม, พนมวรรณ์ สว่างแก้ว และ วิชิต พุ่มจันทร์. (2564). พลังชุมชนกับการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดของโควิด–19 ในชุมชนชายแดนไทย – ลาว. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564, จาก https://www.sac.or.th › main › article › tags.
โพสต์ทูเดย์. (2564). คลัสเตอร์สถานบันเทิงทำให้มีผู้ติดเชื้อโควิดที่นครสวรรค์เพิ่ม 12 คน. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.posttoday.com/social/local/650211.
สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์. (2564). ข้อมูลสำคัญจังหวัดนครสวรรค์ประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก akhonsawan.go.th/joomla/attachments/article/3410/ข้อมูลสำคัญจังหวัดนครสวรรค์2564 แก้ไข090364.pdf.
ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง และ คณะ. (2564). กลไกการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. Local Administration Journal, 14(3); 291-308.
Dutta, A., and Fischer, H.W. (2021). The local governance of COVID-19: Disease prevention and social security in rural India. World Development, 138(2021), 105234.
Ha, B.T.T., Quang, L.N., Thanh, P.Q., Duc, D,M., Mirzoev, T.,and Bui, T.M.A., (2021). Community engagement in the prevention and control of COVID-19: Insights from Vietnam. PLoS ONE 16(9), e0254432.
Gilmore, B., Ndejjo, R., Tchetchia, A., de Claro, V., Mago, E., Diallo, A.A., Lopes, C., and Bhattacharyya, S., (2020). Community engagement for COVID-19 prevention and control: a rapid evidence synthesis. BMJ Global Health 2020; 5:e003188.doi:10.1136/bmjgh-2020-003188.
Lau, H., Khosrawipour, V., Kocbach, P., Mikolajczyk, A., Schubert, J., Bania, J., and Khosrawipour, T., (2020). The positive impact of lockdown in Wuhan on containing the COVID-19 outbreak in China. J Travel Med. 27(3):taaa037 doi: 10.1093/jtm/taaa037.
Lee, J.J., Kang, K.A., Wang, M.P., Zhao, S.Z., Wong, J.Y.H., O'Connor, S., Yang, S.C., and Shin, S., (2020). Associations between COVID-19 misinformation exposure and Belief with COVID-19 knowledge and preventive behaviors: cross-sectional online study. JOURNAL OF MEDICAL INTERNET RESEARCH, doi: 10.2196/22205
Ning, L., Niu, J., Bi, X., Yang, C., Liu, Z., Qunhong Wu, Q., Ning, N., Libo, L., Liu, A., Yanhua Hao, Y., Gao, L., and Chaojie Liu, C., (2020). The impacts of knowledge, risk perception, emotion and information on citizens’ protective behaviors during the outbreak of COVID-19: a cross-sectional study in China. BMC Public Health, 20, 1751.
Sathiadas, M.G., (2020). Community participation during Covid-19. Jaffna Medical Journal, 32(1), 1-2.