กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

นันทิตา ฉลาด
แสงจิตต์ ไต่แสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณ 2) ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับกลยุทธ์ระดับธุรกิจของน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้บริโภคต่อกลยุทธ์ระดับธุรกิจ ในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคน้ำพริกสูตรโบราณในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที ค่าเอฟ ค่าแอลเอสดี และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณภาพรวมอยู่ในระดับมาก     มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.02 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.517 2) ระดับกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.406 3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับกลยุทธ์ระดับธุรกิจของน้ำพริกสำเร็จรูปสูตรโบราณ พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ภูมิลำเนาปัจจุบัน รสชาติน้ำพริก และการคำนึงส่วนใหญ่ในการซื้อสินค้าส่วนใหญ่แตกต่างกัน มีกลยุทธ์ระดับธุรกิจแตกต่างกัน และ 4) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้บริโภคต่อกลยุทธ์ระดับธุรกิจ ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r=0.787)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2564). ส่องแนวโน้มตลาดน้ำพริกจีน และโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view. php?filename=contents_attach/756505/756505.pdf&title=756505&cate=762&d=0.

จิราภรณ์ เบ็ญจธรรมรักษา.(2557). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำพริกแกงของผู้บริโภคในตลาดไท. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณฎัวลิณคล เศรษฐ์ปราโมทย์, อุบลรัตน์ พรหมฟัง, เกียรติศักดิ์ ไชยเลิศ, และภูมิพัฒน์ มักได้. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวพองรสชาติอาหารล้านนา (น้ำพริกอ่อง). ในการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณัฐวรา ดาววีระกุล. (2558). แผนธุรกิจน้ำพริกแกงแม่เสียน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พงศ์ศิริ แซ่ตัน. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการ กรณีศึกษา ร้านไอศกรีม Swensen’s สาขา Big C สตูล. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วสุธิดา นักเกษม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 2148-2167.

วาสนา พวงบุบผา. (2554). การศึกษากลยุทธ์การตลาดและการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กรณีศึกษา แรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า House Brandของบริษัท บิ๊กซีซุปเปอร์เซนเตอร์ จำกัด (มหาชน). การศึกษาค้นคว้าบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สิริมาส หมื่นสาย, ปรัชญา ชุ่มนาเสียว, และกฤษณะ ดาราเรือง. (2565). ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มทอผ้า. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(1), 101-112.

สุดที่รัก นุชนาถ. (2562). ความพึงพอใจและความภักดีในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนประสมทางการตลาดสู่การตั้งใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น GrabFood ของผู้ใช้บริการในเขตฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

อภิวิทย์ ยั่งยืนสถาพร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ห้องบันทึกเสียงสร้างมูลค่าสำหรับมัลติมีเดียและงานตัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการจัดการสาระและการสร้างคุณค่า, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.