ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและลักษณะเฉพาะของกิจการส่งผลต่อความสามารถในการจัดการกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (SET 100)

Main Article Content

วิยะดา ปิ่นแก้ว
จิรพงษ์ จันทร์งาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและลักษณะเฉพาะของกิจการส่งผลต่อความสามารถในการจัดการกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET 100) โดยมีขอบเขตการศึกษาจำกัดเฉพาะช่วงปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 จำนวน 88 บริษัท โดยใช้ข้อมูล
งบการเงินจาก SETSMART และแบบประเมินการกำกับดูแลกิจการจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ผลการดำเนินงานวัดค่าโดยตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราส่วนกำไรขั้นต้น  อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม  และด้านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) สัดส่วนการแยกตำแหน่งของประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และขนาดของกิจการ มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนกำไรขั้นต้นในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ แต่ขนาดของคณะกรรมการ และประเภทของกลุ่มกิจการ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ 2) สัดส่วนการถือหุ้นของของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนกำไรสุทธิ (NPM) ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ แต่ขนาดของคณะกรรมการ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ 3) ขนาดของกิจการกับอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ 4) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นกับการกำกับดูแลกิจการ ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ เอกสะพัง. (2562). การวิเคราะห์อิทธิพลของโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีผลต่อมูลค่าทางบัญชีโดยส่งผ่าน ทุนทางปัญญา : หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นคร วีรรัตน์ และพัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับความเสี่ยงทางการเงินของบริษัท จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 6(1): 110-120.

นัฏพร มโนรถพานิช. (2564). การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12): 279-291.

ประภาศรี โอสถานนท์ และวัชร ปุษยะนาวิน. (2564). โควิดทุบธุรกิจ 'ปิดกิจการ' SME สายป่านสั้น เสี่ยงสูง. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/943311.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. (น. 148). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สุมิตรา ตั้งสมวรพงษ์ และบษุบา คงปัญญากล. (2563). ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทย ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565, จาก https://classic.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1608633250443.pdf

สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2558). การกำกับดูแลกิจการที่ดีมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานผ่านการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 20(2): 111.

Bhagat, S., and Black, B.S. (2002). The Non-Correlation between Board Independence and Long-Term Firm Performance. Journal of Corporation Law, 27: 231-273.

Bebeji, A., Mohammed, A., and Tanko, M. (2015). The effect of board size and composition on the financial performance of banks in Nigeria. African Journal of business Management, 9(16): 590-598.