การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน

Main Article Content

อัญชลี ศรีเกตุ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่วิถีที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจและพัฒนาชุมชนของตนเอง เพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบผลสำเร็จคือ (1) ชุมชนต้องจัดการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก รวมทั้งสร้างอัตลักษณ์ชุมชนของตนให้โดดเด่นและรักษาไว้ซึ่งความเป็นชุมชนท้องถิ่น (2) ชุมชนต้องจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้หลากหลาย และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง (3) ผู้นำและคณะกรรมการชุมชนต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของชุมชน และ (4)ผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการจัดการท่องเที่ยวควรสร้างเครือข่ายภายในชุมชนและภายนอกชุมชน


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แถลงข่าวสถานการณ์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 (28 ม.ค. 2562). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=499&filename=index

โตมร ศุขปรีชา. (2559). Localism & Staycation ที่สุดของการเที่ยว. TAT Tourism Journal จุลสารวิชาการท่องเที่ยว, 2(3), 21-27.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2556). การท่องเที่ยวชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2547). ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชในมุมมองของนักท่องเทียว. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). การนำเสนอทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2563. TAT Tourism Journal จุลสารวิชาการท่องเที่ยว, 5(4), 14-21.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564, จาก http://www.cbt-i.or.th

สุดถนอม ตังเจริญ. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ,13(2), 1-24.

องค์การบริหารและพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อ.พ.ท.

อัญชลี ศรีเกตุ และปิยะนุช เงินคล้าย. (2564). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุษาวดี พลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว, 21(4), 38-48.