การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริโภคที่ใช้และเคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ได้แก่ Food Panda และ Grab Food ในจังหวัดลำปาง จำนวน 391 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดลำปางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ความเข้ากันได้มีค่าเฉลี่ยระดับสูงสุด รองลงมาด้านการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน และด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ตามลำดับ 2) ระดับการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การสื่อสารฯ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาการสื่อสารฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ การสื่อสารฯ ผ่านทางวิดีโอออนไลน์ ตามลำดับ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ความไว้วางใจ การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอีเมล์ การสื่อสารแบบปากต่อปากฯ ผ่านวิดีโอออนไลน์ และการสื่อสารแบบปากต่อปากฯ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในจังหวัดลำปางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกร พินิจรัตนารักษ์. (2562). อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ตต่อทัศนคติต่อตราสินค้า การรับรู้คุณค่าของการบริโภคและการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 5(4), 78-100.
เกียรติศักดิ์ สุขศรีชวลิต และวาทิต อินทุลักษณ์. (2563). ปัจจัยการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกชำระเงินผ่านทางแอปพลิเคชัน True Money Wallet. Dusit Thani College Journal, 14(1), 404-418.
ชุตินันท์ เชี่ยวพานิชย์. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการ Application Grab ของเจเนอเรชั่น C. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัธภัชร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Industrial Business Administration, 2(1), 92-106.
ณิชยา ศรีสุชาต, วรงรอง ศรีศิริรุ่ง และวราภรณ์ เหลืองวิไล. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารของผู้บริโภคผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือในกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 13(3), 63-80.
นฤศร มังกรศิลา. (2564). โซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจร้านอาหาร.วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 83-96.
พงศกร งามวิวัฒนสว่าง. (2560). กลยุทธ์ปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศผ่านร้าน Multi-Brand ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภพพรหมินทร์ วโรตม์วัฒนานนท์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1), 86-100.
วสุธิดา นุธิตมนต์ และทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจใช้บริการชำระเงินของผู้บริโภครุ่นใหม่ด้วยโปรแกรมประยุกต์คิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 40-50.
สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Camarero, C., Anton, C. and Rodriguez, J. (2013). Technological and ethical actecedents of e-book piracy and price acceptance. Journal of the Electronic Library, 32(4), 542-566.
Cheung, Lee and Rabjohn. (2008). The impact of electronic word of mouth: the adoption of online opinions in online customer communities. Internet Research, 18(3), 229-247.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of Information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.
Electronic transaction development agency (Public Organization). (2012). Digital economy. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2565,จาก https://www.etda.or.th/digital-economy.html.
Kannikar. (2019). เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://amarinacademy.com/5920/management/.
Nattapon Muagtum. (2022).13 Insight ecommerce 2022 ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อขายของออนไลน์
จาก Digital Stat 2022. สืบค้นเมื่อ30 มิถุนายน 2565, จาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-ecommerce-thai-2022-digital-stat-we-are-social/.
Ooi, K.B. and Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: an investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert systems with application, 59, 33-46.
Park, H. and Kim, Y.-K. (2014). The role of social network websites in the consumer-brand Relationship. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(4), 460-467.
Porter, McDowell. (2017). WOM or eWOM, is there a diference?: an extension of the social communication theory to consumer purchase related attitude, สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://digitalcommons.lsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=5492&context=gradschool_
dissertations.