ถอดบทเรียนการจัดการภาครัฐในวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย

Main Article Content

วรพงศ์ แสงผัด
บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ
เจมส์ แลนแคสเตอร์
ธนสิน จันทเดช
พรธวัล อวิรุตม์

บทคัดย่อ

ในห้วงระยะเวลา ปีพ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2564 คือช่วงเวลาอันโหดร้ายสำหรับทุกสังคมประเทศ ที่ต้องเจอกับการระบาดของโรคโควิด 19 ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลตั้งแต่การสูญเสียทรัพยากรบุคคล ระบบเศรษฐกิจที่ต้องชะลอตัว และการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ที่ทำให้เราทุกคนต่างต้องระมัดระวัง เพื่อลดการสัมผัสเชื้อ อย่างไรก็ตาม กลไกการปกป้องคุ้มครองประชาชน คือ การจัดการของภารรัฐ ที่ต้องสนับสนุนทั้งแนวทาง กระบวนการป้องกัน และกระบวนการรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งในบทความนี้เป็นกล่าวถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทย โดยมีมุมมองถึงการจัดการภาครัฐที่ควรสร้างการตระหนักรู้ที่รวดเร็ว และลดขั้นตอนการใช้ระบบราชการให้น้อยที่สุดเพื่อความคล่องตัวในการให้บริการกับประชาชน นอกจากนี้บทความนี้ยังแนะนำให้การจัดการภาครัฐควรดึงเอาความร่วมมือจากภาคเอกชน และกลุ่มอาสาสมัคร เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เช่นการให้ภาคเอกชนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การกระจายวัคซีน ตลอดจน เป้าประสงค์ที่อยากให้ภาครัฐปรับตัวเองให้เข้าสู่การเป็น ภาครัฐสมัยใหม่ในรูปแบบ New Public Management มากขึ้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ และประชาชนของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัสมา บุญมาก. (2564). ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล สำหรับประชาชนผู้ได้รับสิทธิ ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565,จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_bangkok14_09092021/6217950080.pdf.

กฤษฎา บุญชัย. (2564). วิกฤติโควิด สาธารณสุขกำลังล่ม เร่งกระจายอำนาจสู่ประชาชน. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2565,จาก https://thaipublica.org/2021/04/kritsada-boonchai-21/.

ข่าวสดออนไลน์. (2563). สิงคโปร์ เอาจริง!! ประกาศห้ามนักท่องเที่ยวจากจีนทุกคน เดินทางเข้าประเทศ. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565, จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3501633.

ไทยโพสต์. (2565). เปิดโพล 'สสช.' ประชาชนพอใจภาพรวมรัฐบาลระดับมาก 33.9% ปลื้ม 'คนละครึ่ง' สูงสุด. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565,จาก https://www.thaipost.net/general-news/114098/.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560). 3พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณวดี ชัยกิจ และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2564). การแพร่กระจายของข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19และมาตรการป้องกันของไทย. วาสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 15-32.

รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565, จาก https://www.who.int/thailand.

วิไลวรรณ วะปะแก้ว และภักดี โพธิ์สิงห์. (2565). นโยบายภาครัฐกับการเยียวยาประชาชนในช่วง โควิด-19. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 161-174.

อนุตรา รัตน์นราทร. (2563).รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน. วารสารสถาบันบำราศนราดูร,14 (2), 116-123.

เอกภาคย์ คงมาลัย และชาญชัย จิวจินดา. (2564). ความคาดหวังของผู้ใช้บริการโครงการคนละครึ่งผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(1), 66-79.

Maslow, Abraham H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harpers and Row.