พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตพื้นที่สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวไทย

Main Article Content

จันทกานต์ กัสปะ
นุชนาถ ศรีรักษา
สุนิสา นาที
ปวริศา เลิศวิริยะประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตพื้นที่สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตพื้นที่สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ทดสอบเครื่องมือโดยการตรวจค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (IOC) และค่าความเชื่อมั่น มีค่าเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test และ F-Test หรือ Anova ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 – 29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตพื้นที่สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญของพฤติกรรม การรับรู้ถึงความต้องการ มากที่สุด รองลงมาคือ การประเมินทางเลือก และพฤติกรรมหลังการซื้อ ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ด้านการรับรู้ถึงความต้องการการแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมหลังการซื้อแตกต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ด้านการแสวงหาข้อมูลแตกต่างกัน และอาชีพต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ การประเมินทางเลือก และการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติมา เกิดสุภาพ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางตามนักรีวิวบนสื่อออนไลน์ไปใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา, 15(2) 41-50.

กัลยา วานิชบัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา

จิธญา ตรังคิณีนาถ, นฤมล ลาภธนศิริไพบูลย และ ยลชนก ขวดพุทรา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่และการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภค.วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการและสังคมศาสตร์. 13(1), 42-63.

ทศพร ลีลอย. (2564).ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการคาเฟ่กลางทุ่งนา. วิจัยการค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนวัฒน์ เพชรพันธ์. (2564). Café Hopping กับการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565,จาก https://tourism.utcc.ac.th/cafe-hopping-กับการท่องเที่ยว/.

ธนาภรณ์ ทิมคล้าย.(2564). กระบวนการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่ของประชากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นฤชล ธนจิตชัย และ สุวรรณ เดชน้อย (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา , 11(1), 218-228.

นุชชศุลี พุฒิกิจภัญโญ. (2559). ปัจจัยและพฤติกรรมการใช้บริการคาเฟ่ ของนักศึกษาเกาหลีใต้ในกรุงโซลหลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แบรนด์เอท ออนไลน์, (2563). ส่องสถิติร้านอาหารปี 2019 ที่คนครัวต้องรู้ เปิดพรึบ 70,000 ร้านแต่ปิดระนาวเหลือรอดเพียง 10%. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565,

จาก https://www.brandage.com/article/16993/Food-2019.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของ เครื่องมือวิจัยด้วยเทคนิค IOC, CVR และ CVI. วารสารวิชาการบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์, สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต, 28(1), 174-175.

เรียล เอสเสท, (2562) .10 เหตุผลที่ทำให้ 'สุขุมวิท’ เป็น ‘ทำเลฮอต’ ที่สุดในกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565,จาก https://www.realasset.co.th/news-activity/detail/10-เหตุผลที่ทำให้.

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. 3 rd ed. New York: John Wiley & Sons

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Won seok, L., Joonho, M., And Myungkeun, S. (2018). Attributes of the coffee shop business related to customer satisfaction. Journal of Foodservice Business Research. Department of Tourism and Recreation, Kyonggi University, Suwon, Korea 21(6), 628-641.