ปัญหาทางกฎหมายของผู้ทวงถามหนี้ในการใช้สิทธิทวงถามหนี้จากลูกหนี้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย กฎหมาย และปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายผู้ทวงถามหนี้ในการใช้สิทธิทวงถามหนี้จากลูกหนี้ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมมาเสนอแนะ แก้ไขกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาเอกสารจากกฎหมาย ตำรา ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ข้อมูลจากเว็บไซต์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ทวงถามหนี้ที่ใช้สิทธิทวงถามหนี้ จำนวน 14 คน คือ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานสินเชื่อด้านการเงิน ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานของธนาคาร ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานของสหกรณ์การเกษตรที่บริการสินเชื่อ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่บริการสินเชื่อ อาจารย์ ทนายความ และผู้พิพากษา ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายผู้ทวงถามหนี้ในการใช้สิทธิทวงถามหนี้จากลูกหนี้มีปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่สำคัญ คือ ลูกหนี้ย้ายที่อยู่หรือหลบหนีเจ้าหนี้โดยไม่แจ้งสถานที่ติดต่อให้เจ้าหนี้ทราบ ดังนั้นควรระบุ ในกฎหมายให้ชัดเจนในประเด็นดังกล่าว และบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ปกปิดหรือให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ การทวงถามอาจไม่ได้ผล นอกจากนี้การถามบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกหนี้ เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน นายจ้าง หรือบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานของลูกหนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่า สหรัฐอเมริกามีกฎหมายควบคุมการทวงถามหนี้ของหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เงินในระบบและหนี้เงินที่นำมาใช้จ่ายในครอบครัวเท่านั้น ซึ่งเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทย โดยเสนอแนะแก้ไขกฎหมายการติดตามทวงถามหนี้ของเจ้าหนี้ ในพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญณัฏฐ์ วิเศษสิงห์. (2560). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้กู้ยืมเงินนอกระบบ.วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริรัตน์ โรจน์วรพร. (2558). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
สุพิศ ประณีตพลกรัง. (2558). กฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อินเตอร์บุ๊คส์.
สุรศักดิ์ มีบัว. (2561). การทวงหนี้อย่างไรให้ชอบด้วยพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558. สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(2), 258-274.
อุทิศ จิตร์ทะวงค์. (2559). ปัญหาการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558: ศึกษากรณีการคุ้มครองลูกหนี้นิติบุคคล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ.
FDIC Law., (2562) Regulations, Related Acts. Retrieved on August 23, 2021, From https://www.fdic.gov/regulations/laws/rules/6500-1325.html.
Ltoya Irby., (2564). Fair Debt Collection Practices Act Summar, Retrieved on August 20, 2021, From https://www.thebalance.com/fair-debt-collection-practices-act-overview-960562.