ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกาย และศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่สังกัดอยู่ในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยรังสิตใน พ.ศ. 2564 จำนวน 432 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการออกกำลังกายส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี ปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน โรคประจําตัว และระยะเวลาการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล โรคประจําตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย 1) ปัจจัยนําด้านความรู้ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย 2) ปัจจัยเอื้อด้านนโยบายมหาวิทยาลัยไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกาย ปัจจัยเอื้อด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ปัจจัยเสริมด้านการได้รับข่าวสารจากสื่อและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ชลลดา บุตรวิชา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชมรมเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเขตสายไหม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
ทัศนันท์ ดาบแก้ว. (2549).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพร แย้มศรี. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาสกร วัธนธาดา. (2562). แนวทางการออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564, จาก http://haamor.com/th/การออกกำลังกาย/.
มนตชัย เทียนทอง. (2548).สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ.
รัตน์กัมพลชัย อิ้วสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
สมนึก แก้ววิไล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สุกัญญา อุชชิน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพของบุคลากรกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
House, J.S., & Kahn, R.L. (1985). Measures and concepts of social support. In. C, Sheldon & S.S. Leaonard (Eds.), Socail support and health, New York: Academic Press.
Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Pender, N.J. (1996). Heath Promotion in Nursing Practice (2nd ed). Connecticut: Appleton & Lange. Pender.