อิทธิพลของคุณลักษณะของงานที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีก โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะของงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน ด้านการให้บริการของพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีก โดยมีงานที่มีความหมายเป็นตัวแปรส่งผ่าน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีก จำนวน 213 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่า เท่ากับ 35.48 ค่า df เท่ากับ 34 ค่า / df เท่ากับ 1.04 ค่า P-Value เท่ากับ 0.39 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 ค่า CFI เท่ากับ 0.99 ค่า TLI เท่ากับ 0.99 ค่า SRMR เท่ากับ 0.02 และตัวแปรทั้งหมดในโมเดลการวิจัยสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีก ได้ร้อยละ 57.90 โดยพบว่า คุณลักษณะของงานมีอิทธิพลทางอ้อมทิศทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ (B= 0.46, p < .05) และงานที่มีความหมายมีอิทธิพลทิศทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B= 0.76, p < .05) และคุณลักษณะของงานมีอิทธิพลทิศทางบวกต่องานที่มีความหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B= 0.61, p < .05) สรุปได้ว่าคุณลักษณะของงาน และงานที่มีความหมาย เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการที่ทำให้เกิดผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของพนักงาน องค์กรสามารถนำไปใช้ในการออกแบบงาน การจัดฝึกอบรม หรือ จัดบรรยาย เพื่อพัฒนาความรู้ ส่งเสริมการรับรู้ให้พนักงานได้รับทราบถึงความสำคัญของงานของตน นำไปสู่การยกระดับผลการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของพนักงานขาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2557). การประยุกต์ ใช้การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างในงาน วิจัยเชิงทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 20(2), 206-237.
พัชราภรณ์ เลขยันต์. (2560). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันสำหรับธุรกิจค้าปลีก. SSRU Journal of Management Science, 4(1),8-12.
วิจัยกรุงศรี. (2565). วิจัยกรุงศรีมองแนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2565-2567(ตอนจบ):โอกาสและความท้าทาย. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565,จาก https://thaipublica.org/2022/01/krungsri-research-thailand-industry-outlook-2022-2024-01
Allan, B. A. (2017). Task significance and meaningful work: A longitudinal study. Journal of Vocational Behavior, 102, 174-182.
Allan, B. A., Batz-Barbarich, C., Sterling, H. M., และ Tay, L. (2019). Outcomes of meaningful work: A meta‐analysis. Journal of management studies, 56(3), 500-528.
Amyx, D., และ Bhuian, S. (2009). Salesperf: The salesperson service performance scale. Journal of Personal Selling & Sales Management, 29(4), 367-376.
Blanz, M. (2017). Employees’ job satisfaction: A test of the job characteristics model among social work practitioners. Journal of evidence-informed social work, 14(1), 35-50.
Fürstenberg, N., Alfes, K., and Shantz, A. (2021). Meaningfulness of work and supervisory‐rated job performance: A moderated‐mediation model. Human Resource Management, 60(6), 903-919.
Hackman, J. R., และ Oldham, G. R. (1976). Motivation through the design of work: Test of a theory. Organizational behavior and human performance, 16(2), 250-279.
Johns, N., & Howard, A. (1998). Customer expectations versus perceptions of service performance in the foodservice industry. International journal of service industry management.
Liao, H., and Chuang, A. (2004). A multilevel investigation of factors influencing employee service performance and customer outcomes. Academy of Management journal, 47(1), 41-58.
Lin, L., Cai, X., and Yin, J. (2021). Effects of mentoring on work engagement: Work meaningfulness as a mediator. International Journal of Training and Development, 25(2), 183-199.
Raub, S., and Liao, H. (2012). Doing the right thing without being told: Joint effects of initiative climate and general self-efficacy on employee proactive customer service performance. Journal of applied psychology, 97(3), 651.
Senen, S., Masharyono, M., & Edisa, N. (2020). The Effect of Job Characteristics to Employee’s Performance: A Case Study on Employees at Interior Industry. Paper presented at the 3rd Global Conference on Business, Management, and Entrepreneurship (GCBME 2018).
Steger, M. F., Dik, B. J., และ Duffy, R. D. (2012). Measuring meaningful work: The work and meaning inventory (WAMI). Journal of career Assessment, 20(3), 322-337.
Walumbwa, F. O., Hsu, I.-C., Wu, C., Misati, E., และ Christensen-Salem, A. (2019). Employee service performance and collective turnover: Examining the influence of initiating structure leadership, service climate and meaningfulness. Human relations, 72(7), 1131-1153.