ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการยอมรับเทคโนโลยีของข้าราชการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 5

Main Article Content

สาคร ปันทะโย
อัศนีย์ ณ น่าน
ศศิชา วงศ์ไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีของข้าราชการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้าราชการธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 5 จำนวน 292 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product movement correlation coefficient)ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของข้าราชการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 5 อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการยอมรับเทคโนโลยีในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการยอมรับเทคโนโลยีในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราพร. (2564). พฤติกรรมของผู้บริโภคและการยอมรับเทคโนโลยีวัสดุหลังคาเมทัลชีท. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(4), 657-673.

ณัฐฐา ถิรโสภี และชัยวัฒน์ อุตตมากร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีเว็บพอร์ทัลของการเรียนการสอนในระบบเปิด Thai MOOC. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5) : 96-116.

ณัฐพล เพิ่มพงศาเจริญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมการผลิตกรณีศึกษา ระบบ SCADA Software. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1),53-66.

ถนิต พรผาติ. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้กลอนล็อคประตูอัจฉริยะในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนษา ธนเดชะวัฒน์. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์ และคณะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 3(1), 64-74.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2548).การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 18(56), 35-38.

เพลินพร ผิวงาม. 2533. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี โครงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในหมู่บ้าน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนฤดี ช่วงฉ่ำ และคณะ. (2564). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 : ความหมายและปัจจัยเงื่อนไข. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 104-123.

วสุธิดา นุริตมนต์. (2564).การรับรู้คุณภาพผลิตภัณฑ์และคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่น.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,11 (3),11-23.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565, จาก https://bit.ly/3xXlXpg.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565, จาก https://bit.ly/3bsTSi1.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2565). ประวัติความเป็นมาขององค์กรอัยการ สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565,จาก https://bit.ly/3xTWAVx.

สุปราณี พลธนะ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 19-34.

สุพรรณี รัตนโรจน์มงคล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานธนาคารของรัฐขนาดใหญ่ ABC. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หทัยรัตน์ เสนาะพล. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทาง FACEBOOK LIVE ของผู้บริโภคชาวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

อรรถพล กิตติธนาชัย. (2555). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สัมพันธ์ต่อสมรรถนะของ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม). สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Alenazy, W. M. R., W. M. A. & Khan, M. S. (2019). Validation of TAM Model on Social Media Use for Collaborative Learning to Enhance Collaborative Authoring. IEEE Access, 7, 71550-71562.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company Inc.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13(3),313-339.

Kane, G.C. et al. (2015). Community relations 2.0. Harvard Business Review, 87(11), 45-50.

Reis, J. (2018). Digital transformation: A literature review and guidelines for future research. In World CIST'18 2018, AISC 745, 411–421.

Soule, D. (2016). Becoming a digital organization. The Journey to Digital Dexterity. MA: MIT Center for Digital Business and Capgemini Consulting.