การเข้าถึงสิทธิการคุ้มครองแรงงานผิดกฎหมายไร้ฝีมือศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

Main Article Content

บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์
อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
ปวินี ไพรทอง

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิดการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไร้ฝีมือของผู้รับเหมาช่วงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายคุ้มครองแรงงานของ สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา ในกรณีความรับผิดของผู้รับเหมาช่วง อุบัติเหตุ การรักษา เงินชดเชยกรณีการว่างงาน การจัดตั้งสหภาพ   และ ศึกษาปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย เกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ใชระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสังเคราะห์ วิเคราะห์เปรียบเทียบววรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่า ลักษณะแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง พบว่าปัญหาการจำกัดพื้นที่การทำงาน ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป และปัญหาพฤติกรรมแรงงานต่างด้าว เรื่องค่าตอบแทนที่สูงเป็นหลัก และลักษณะการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้รับเหมาช่วง จะเป็นการตกลงกันโดยไม่มีทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายต่างประเทศที่ศึกษา พบว่ามีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว ลักษณะคล้ายคลึงกับกฎหมายไทย และมีบทลงโทษที่หนักกว่าและเข้มงวด  เมื่อปัญหาการเข้าถึงสิทธิของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไร้ฝีมือ กรณีที่ทำการศึกษา พบว่าผู้รับเหมาช่วงไม่ได้ส่งเงินสมทบ และไม่ได้ทำสัญญากับผู้รับเหมาหลักทำให้แรงงานต่าด้าวไร้ฝีมือเข้าไม่ถึงสิทธิ ตามกฎหมายไทย และแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเข้าถึงสหภาพแรงงานตามกฎหมายไทยได้  ผู้วิจัยเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 12  มาตรา 64 มาตรา 96 มาตรา 87 และมาตรา 88

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2558). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 22 .กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

พิทักษ์พงศ์ กางการ. (2560). ผลกระทบของการค้าแรงงานต่างด้าวต่อความมั่นคงของชาติในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง: กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วารสารราชพฤกษ์, 15(3), 55-62.

ภัคสิริ แอนิหน. (2561). แรงงานต่างด้าว: การบริหารและการจัดการในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก file:///C:/Users/USER/Downloads/139681-Article%20Text-439495-3-10-20190217%20(4).pdf.

ภัทรวดี ศรีทองใบ. (2562). คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายสัญชาติพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารเกษมบัณฑิต. ปีที่ 20 ฉบับตุลาคม, 11-23.

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2559). การจัดการแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย 3 สัญชาติของไทย: การสำรวจทางกฎหมาย นโยบาย และทางเลือก. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 49 – 74.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2563). แรงงานข้ามชาติกับโควิด-19 : เราทิ้งใครไว้ข้างหลัง. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565, จาก https://www.tcijthai.com/news/2020/16/labour/11245

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. (2553). ผลกระทบจากการจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยภายใต้ยุค พิสูจน์สัญชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

สุธินี วาจารีย์. (2559). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับ การคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรง: ศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในภาคเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ. (2550). “สิทธิแรงงานข้ามชาติ”. สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศองค์การแรงงานระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.ilo.org/asia/ library/sub.15.htm.

Abella, M. I. (2013). Use of foreign labour to meet labour shortages in dynamic East and South-East Asian economies. ILO Regional Office for Asia and the Pacific.

ILO, International Migration Program. (2006). Migrant Workers (Supplementary Provisions) Convention, 1975(No.143). ILO Multilateral Framework on Labour Migration; Non-binding principle and guidelines for a right-base approach to labour migrations. ILO. Ganeva: International Labour Office.