การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ฐิติพงศ์ เหลืองสุวรรณ
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
ลำไย สีหามาตย์
เกศราพรรณ คงเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวน 385 คน และ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และประเด็นคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่มครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนอยู่ในระดับน้อย และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพปัญหาและความต้องการในการสอนอ่านภาษาอังกฤษ   อย่างมีวิจารณญาณของครูผู้สอนพบว่า การสอนการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่ยากและท้าทาย เนื่องจากครูผู้สอนขาดความรู้ในการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และยังไม่มีวิธีการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณที่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และเห็นควรให้มีรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณด้วยกลวิธีในการสอนที่หลากหลาย มีประสิทธิภาพ เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก สกุลกนกวัฒนา, นิธิดา อดิภัทรนันท์, นันทิยา แสงสิน และสุนีย์ เงินยวง. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 34(1), 73-85.

เกศริน ทองงาม. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตติมา เขียวพันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมร่วมกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุรีภรณ์ มะเลโลหิต. (2561). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิตที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. อินทนิลทักษิณสาร, 13(3), 213-227.

ชาญณรงค์ บุญหลักคำ. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี SCROL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นฤมล ตันติชาติ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษด้วยวงจรวรรณกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 269-380.

นิธิมา สุทะพินธ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงาน ร่วมกับการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 399-414.

พัชรินทร์ สุริยวงค์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 20(1), 9-29.

เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2), 55-74.

มันทนา อุตทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนบ้านเนินมะหาด จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. จาก http://www.niets.or.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิรินาถ ธารา. (2557). การพัฒนากิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อัญชลี โชละเวก. (2561). การศึกษากิจกรรมการเรียนรู้บทอ่านออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Mawaddah Hidayati. (2020). The correlations among critical thinking skills, critical reading skills and reading comprehension. ENGLISH REVIEW. Journal of English Education, 9 (1), 69-80.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row. Publications. Vroom, H. V.