ความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ที่มีต่อการท่องเที่ยว เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

พันธุ์ทิพย์ แจ้งเนตต์
พุทธิดา บุญยเวทย์
อรวรณ จันนวล
ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ ที่มีต่อการท่องเที่ยว เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 2.) เปรียบเทียบระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ ที่มีต่อการท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-Test (Anova) ผลวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง 400 คน อายุเฉลี่ย 20 – 30 ปี ส่วนใหญ่ศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท  2) ความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ ที่มีต่อการท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ ที่มีต่อการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) รองลงมาคือความพร้อมในการใช้งาน (Availability) และด้านลักษณะที่ปรากฏ (Appearance) 3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างตามวัตถุประสงค์ พบว่า อายุและอาชีพของนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ แตกต่างกัน มีความต้องการต่อการท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ส่องโอกาสสร้างเม็ดเงินทางการท่องเที่ยวจากกลุ่ม LGBTQ. ศูนย์พัฒนาวิชาการด้านตลาดการตลาดท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก www.tatacademy.com/th/articles/article/.

ชญานิน วังซ้าย. (2561). เรื่อง LGBTQ inside out สรุปประเด็นจากการสำรวจความเห็นนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพสูง LGBTQIA. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565,

จาก www.tatreviewmagazine.com/article/lgbtq-inside-out/

ชฎาพร เพ็งหิรัญ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์พริ้นทร์ กรุงเทพมหานคร.

ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์. (2565). ทีมเรารักพัทยา สานพลังกลุ่ม LGBT สร้างรายได้ยกระดับท่องเที่ยวสู่เมืองนานาชาติ. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565, จาก www.naewna.com/politic/652992.

ปิยะฉัตร ปวงนิยม, จิราทัศน์ รัตนมณีฉัตร และนิติบดี ศุขเจริญ. (2560). แนวทางในการสร้างโอกาสทางการตลาดจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศสำหรับธุรกิจโรงแรม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2455-2471.

พลากร แก้วทิพย์. (2562). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศ กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัสร์นลิน เกียรติกมลศรี และศรินยา ละอองอินทร์ ทยานศิลป์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเพศทางเลือก (LGBT) ต่อการท่องเที่ยวในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. หน้า 1070-1084. บัณฑิตวิทยา มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิวัฒน์ สุวรรณรัตน์. (2559). พัทยาน่าเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565, จาก www.sites.google.com/site/pattaya2611/

อารีวรรณ บัวเผื่อน. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการมาท่องเที่ยวประเทศไทย : กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cochran W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd Edition). New York: John Wiley and Sons.

PRIDE AND PROUD. (2565). เปิดตัวย่อ “LGBTQIA+” คืออะไร มาจากไหน. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566, จาก www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1008000.

Voice Online. (2562). ส่องโอกาสตลาดกลุ่ม LGBT ฟื้นท่องเที่ยวไทย ยุคเศรษฐกิจฝืด. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2565,จาก www.voicetv.co.th/read/xIl3YtBCy.