ความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีต่อการจัดการ สถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

ชาติภากร มัลละพุทธิรินทร์
จุฑาทิพ คล้ายทับทิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ต่อการจัดการสถานการณ์โควิด – 19 และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีต่อการจัดการสถานการณ์โควิด – 19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการให้บริการสาธารณสุขของเทศบาลเมืองราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและอ้างอิงความแตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างกลับไปยังประชากรด้วย One-Way ANOVA หาความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการ LSD กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี เห็นด้วยมากต่อการจัดการสถานการณ์โควิด – 19  และประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นต่อการจัดการโควิด – 19 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 และปัจจัยด้านการให้บริการสาธารณสุขของเทศบาลเมืองราชบุรี ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการสถานการณ์โควิด – 19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุมาศ แสงสว่าง และ พิมประภา เลื่อมใส. (2565). ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขต เทศบาลเมืองบุรีรัมย์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 10(1).

ณัฐฐา เสวกวิหารี (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลเมืองราชบุรี. (2565). ข้อมูลการจัดการกับสถานการณ์โควิด ของเทศบาลเมืองราชบุรี.สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จากhttp://www.rbm.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id=2&Itemid=71

รัฐกูล เสนารา. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติจำนวนประชากร พ.ศ. 2564 จังหวัดราชบุรี . สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565,จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

อวาทิพย์ แว. (2563).COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคม วิชาชีพสุขศึกษา, 35 (1), 24-29

อารุจี ศักดิ์สวัสดิ์ (2563). คุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ : กรณีศึกษาประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Yamane. (1967). Taro statistic: an introductory analysis. New York: Harper and Row.