โครงสร้างเงินทุนและการบริหารสภาพคล่องกับการประเมินมูลค่าหุ้น ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

อพัฏศศิ นวะสิทธิ์
เบญจพร โมกขะเวส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอผลกระทบของโครงสร้างเงินทุนและการบริหารสภาพคล่องต่อการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเก็บข้อมูลจากงบการเงินระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2564 จำนวน 81 บริษัท จากฐานข้อมูลบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างเงินทุนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทส่วนการบริหารสภาพคล่องกับมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัท และเมื่อวัดค่าจากอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี พบว่า อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการประเมินมูลค่าหุ้น นอกจากนี้ จากความสัมพันธ์ของการบริหารสภาพคล่องกับการประเมินมูลค่าหุ้น พบว่า อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินมูลค่าหุ้น ส่วนโครงสร้างเงินทุนกับการประเมินมูลค่า พบว่า อัตราหนี้สินรวมต่อทรัพย์สินรวมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการประเมินมูลค่าหุ้น ในขณะที่การบริหารสภาพคล่องกับการประเมินมูลค่าหุ้นวัดค่าจากอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี พบว่า อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการประเมินมูลค่าหุ้น และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินมูลค่าหุ้นส่วนโครงสร้างเงินทุนกับการประเมินมูลค่าหุ้น วัดค่าจากอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ พบว่า อัตราหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการประเมินมูลค่าหุ้น และอัตราหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินมูลค่าหุ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวรรณ สินธุนาวา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและอัตราผลตอบแทน จากสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. พิฆเนศวร์สาร, 17(1), 153-166.

ณัฐริณี ศิวะพรประสงค์ และกัลยาภรณ์ ปานมะเริง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย SET100 กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). ดัชนีราคากลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.set.or.th.

ทศพร ดาราโพธิ์ และ สุภา ทองคง. (2563). ผลกระทบโครงสร้างเงินทุนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(2), 109-22.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 ในกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2566, จาก https://www.krungsri.com.

พัชรพล ศรีเพชร. (2563). ความสัมพันธ์ของการบริหารเงินและคุณภาพการสอบบัญชีมีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET 100. ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ภูษณิศา ส่งเจริญ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและอัตราผลตอบแทน จากสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 30-41.

ศุลีพร คำเครื่อง. (2563). อิทธิพลของสภาพคล่องและความสามารถในการบริหารหนี้สินที่มีต่อ ราคาหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2565). สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 เข้าสู่ช่วงฟื้นตัวดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์(หมวดที่อยู่อาศัย) ขยับขึ้น 14.2%. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.reic.or.th.

สุรเดช กิตติวรรณโชติ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ถูกคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่มหุ้นยั่งยืน. ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อาภัสชญา ดิเรกศิลป์. (2562). โครงสร้างเงินทุนและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.