ความต้องการจำเป็นและแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาสภาพที่คาดหวัง 3) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น และ 4) เพื่อหาแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดหนองคาย แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 175 คน มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นของสภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.99 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็นระยะที่ 2 หาแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดหนองคาย ผู้ให้ข้อมูล เลือกแบบเจาะจงจำนวน 15 คน ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 5 คน และ 3) บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และยืนยันแนวทางโดยผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินเพื่อยืนยันแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.77)2. สภาพที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98)3. ความต้องการจำเป็น ลำดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ลำดับที่ 2 คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ลำดับที่ 3 คือ ด้านการบริหารงานบุคคล และลำดับที่ 4 คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ 4. แนวทางมีจำนวนทั้งสิ้น 17 แนวทาง ได้รับการยืนยันว่าใช้ได้ทุกแนวทาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564). บทบาทของผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/.
บัญชา วงศ์คำภา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประทิน จันทร์ตะละ. (2560). แนวทางการบริหารทั่วไปโรงเรียนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พัชรินทร์ ชัยจันทร์. (2550). สภาพและความต้องการการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภัคกร บุญพันธ์. (2563). ประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภูเบศ นิราศภัย. (2563). สภาพและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2560). การบริหารการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก http://www.mbuisc.ac.th/phd/MBU%20Article/.
ศรีประภา เสถียรอรรถ. (2563). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานการเงิน บัญชี ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ศูนย์การทหารอากาศโยธิน. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2565, จาก https://sftc.rtaf.mi.th/index.php/2018-10-22-07-41-38/120-2018-10-22-03-44-24.
สายสุนีย์ จับโจร, สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย, เบญจภัค จงหมื่นไวย์, และ ธิดานุช พุทธสิมา. (2561). การส่งเสริมสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน. สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก https://otepc.go.th/images/00_YEAR2563/04_PV2/circular_document/v3-2564.pdf
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). ที่ตั้งโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก https://data.go.th/dataset/school-location.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2564). AUTOMATED QA ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://aqa2.onesqa.or.th/management.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 119-128
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุบลรัตน์ สิงสา. (2561). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.trueplookpanya .com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir