ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 365 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การกำหนดตัวอย่างวิจัยแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (simple random sampling) และเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามทัศนะของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .961 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และสังกัดขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณาภรณ์ พุฒชงค์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
กิตติภัฏ รัตตนุสสรณ์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15(29),80-91.
เชาวลิต ลิ้มไพบูลย์. (2559). ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมบรรยากาศ และความจงรักภักดีต่อองค์กรที่มีผลต่อการทำงานของพนักงาน บริษัท เอส.เค.เจ. พลาสติก จำกัด เขต สมุทรสาคร. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสยาม
ณัฏฐ์ แสงนุสิทธิ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(2), 169.
ฏิมากร บุ้นกี้. (2563). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ทับทิม เป็งมล สิริลักษณ์ กัลยา และณัฐวุฒิ วิทา. (2561). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารการปกครองและชุมชนส่วนท้องถิ่น, 2(3), 93-104.
ธนาภรณ์ บุญทอง. (2561). การพัฒนาศักยภาพในการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษากองสถานที่ ยานพาหนะ และรักษาความปลอดภัย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
นิภาพร รอดไพบูลย์. (2565). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระมหาประยูร ธีรวโร (ตระการ). (2565).วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(1), 38.
พัชราพรรณ ชอบธรรม. (2562). การวางแผนกลยุทธ์ : เครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 73.
พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล. (2565). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การดำเนินงานตามโครงการคนดีศรีสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 84-98.
ยศวดี เชื้อพรหม. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร วิทยานิพนธ์ รป.ม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รุ่งนภา นิรงบุตร. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
วริษา ฮวดศรี กัญภร เอี่ยมพญา นิวัตต์ น้อยมณี. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารสิรินธรปริทรรศน์จังหวัดฉะเชิงเทรา, 22(1), 103-117.
วิรันทร์รัตน์ เสือจอย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรีอ่างทอง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,4(3),1202-1216.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2565). บัญชีรายละเอียดอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. สืบค้น 24 เมษายน 2565,จาก https://www.sesao2.go.th.
อภิชญา จะเรียมพันธ์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,11(2),7-13.
Barbara J. Davies and Brent Davies. (2006). Developing a Model for Strategic Leadership in Schools. Educational Management Administration and Leadership, 34(1), 121.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research methods in education. (8th ed.). New York: Routledge.
Dubrin, A. J.(2004). Leadership :Research Findings, Practice, and Skills. (4th ed.).New York: McGraw - Hill.
Finkelstein, S., & Hambrick, D. (1996). Strategic Leadership: Top executives and their effects on organizations. Minneapolis: West Publishing.
Khamdit, S. (2018). Educational Leadership: Leadership in Thai Society. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.