รูปแบบและขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบและขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค รูปแบบขั้นตอน รวมถึงแนวทางการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบขั้นตอน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งค้นคว้าจาก หนังสือ บทความ ตำราวิชาการ งานวิจัย ข้อมูลสารสนเทศ และการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล นำมาเป็นฐานข้อมูลในการวิจัยผลการศึกษา พบว่า ปัญหาอุปสรรคมีความซับซ้อนลักษณะเฉพาะ ระยะเวลาการพิจารณาคดีใช้เวลานานในขณะที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใช้ระยะเวลาน้อยกว่า แต่วิธีนี้ยังไม่ปรากฎแพร่หลาย ซึ่งคู่กรณีขาดความเข้าใจที่จะใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองในคดีนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังขาดผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรูปแบบ ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ควรแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยอมรับ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องไม่เกี่ยวข้องกับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ระยะเวลาการไกล่เกลี่ย นับตั้งแต่วันไกล่เกลี่ยวันแรก ไม่เกิน 90 วัน คู่กรณีสามารถถอนตัวได้ตลอดเวลาถ้ามีเหตุเร่งด่วนสามารถมอบอำนาจให้คนอื่นเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยแทน แต่ต้องยอมรับผลการไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยไม่สามารถตัดสินใจแทนได้ ดังนั้น ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นคู่กรณีจะเป็นผู้ตัดสินใจเท่านั้น ตุลาการจะออกคำสั่งตามการตัดสินใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจากการศึกษาพบว่า แนวทางพัฒนาปรับปรุงกระบวนการนั้น ควรมีกระบวนการที่ไม่เคร่งครัดมากเกินไป ในขณะเดียวกันควรมีช่องทางการไกล่เกลี่ยอื่น ๆ เช่น ช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้ ควรนำคดีที่ประสบความสำเร็จจากการไกล่เกลี่ยนำเป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คู่กรณีรายอื่นได้พิจารณากระบวนการไกล่เกลี่ย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมบังคับคดี. (2565). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565,จาก https://shorturl.asia/aBK4n.
โชติช่วง ทัพวงศ์. (2550). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pacific/article/view/247776.
ณัฐชานาฏ ฐิติภัค. (2559). การไกล่เกลี่ยคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองไทย.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. (2542, ตุลาคม 5). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116, ตอนที่ 94 ก, หน้า 1/10.
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ฉบับที่ 12. (2562, มีนาคม 26).ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 136, ตอนที่ 56 ก, หน้า 247-252.
ศาลปกครอง. (2565). การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทมาใช้ในคดีปกครอง.สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/HgiDX.
ศาลปกครอง. (2562).ระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก
https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/data/data_020919_105413.PDF.
สำนักส่งเสริมงานตุลาการ,(2553).การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท.สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565,จาก https://oja.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/84.
อมรรัตน์ อำมาตเสนา และ บรรเจิด สิงคะเนติ.(2562). ความเหมาะสมของการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง.วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6 (2), 305-319.