รูปแบบการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะเพื่อเป็น แหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน

Main Article Content

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

   


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน  และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบการปรับสภาพสิ่งแวดล้อม       สรรค์สร้างสวนสาธารณะเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน  โดยรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย  เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์  จำนวน 388  คน ตามวิธีการของทาโรยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1)  รูปแบบการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะ  ที่ผู้วิจัยได้สร้างภาพจำลองตามแนวคิดและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องได้รูปแบบสวนสาธารณะ  4  รูปแบบ ประกอบด้วย สวนสาธารณะรูปแบบไทย  สวนสาธารณะรูปแบบคลาสสิก  สวนสาธารณะรูปแบบโมเดิร์น และสวนสาธารณะรูปแบบธรรมชาติ และ 2) ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสวนสาธารณะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 4.44)  โดยมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสวนสาธารณะรูปแบบธรรมชาติมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 4.93, S.D = 0.022) 


        

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศินี ธารีสังข์ และพิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์. (2560). การประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสาธารณะริมทะเล เทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ,4 (1),25-33.

เดชา บุญค้ำ. (2549). เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง วิถีสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ :อัดสำเนา.

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิรานันท์ ยิ้มแฟน. (2565). รูปแบบสิ่งแวดลอมสรรคสร้างสำหรับ นันทนาการของประชาชนตำบลบ้านโคก กรณีศึกษาทุงทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา,16(1),266-277.

สมาคมสถาปนิกสยาม และวิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักทะเบียนอำเภอเมืองเพชรบูรณ์. (2566). ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองเพชรบูรณ์. อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd en). New Jersey : Prentice-hall Inc.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,16(3). 297-334.

Likert, R. (1932). A technique for the Measurement of Attitudes. New York: New York University,

Yamane Taro. (1973). Statistics : An Introduction Analysis. (3rd ed.). New York : Harper & Rows Publishers.