การพัฒนารายวิชาบูรณาการแบบคละชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 โรงเรียนวัดสามเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายวิชาบูรณาการแบบคละชั้นเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้นหรือครูคนเดียวสอนทุกรายวิชา ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระและเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารายวิชาบูรณาการแบบคละชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 โรงเรียนวัดสามเรือน และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรายวิชาบูรณาการแบบคละชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรายวิชาบูรณาการแบบคละชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนวัดสามเรือน จำนวน 5 คน ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนบ้านกลาง จำนวน 4 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน และผู้สอนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้รายวิชาบูรณาการแบบคละชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ของโรงเรียนวัดสามเรือนที่มีการบูรณาการเนื้อหาสาระครอบคลุมทั้ง 8 กลุ่มสาระ ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า โดยรวมแล้วรายวิชาบูรณาการแบบคละชั้นที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.59)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิชัย ลาธิ และ สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์, Journal of Roi Kaensarn Academi ,6(2), 85-100.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2562.แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). แนวทางจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Work-Integrated Learning: WIL). กรุงเทพมหานคร: : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
อัครนัย ขวัญอยู่. (2558). แนวทางการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. รายงานทีดีอาร์ไอ,113, 1-16.
Alberta Education. (2007). Primary Program Framwork-Curriculum Integration: Making Connections. Canada: Alberta Education.
Bergersen, A. (2014). Multigrad teacher – for pedagogical reasons or only as a necessary model?. Norway: HSF.
Commonwealth Secretariat. (2005). A Multi-grade Teaching Programme. United Kingdom: Hobbs the Printers.
Drake, M. and Burns, C. (2004). Meeting Standards Through Integrated Curriculum. Retrieved on May 9, 2022, from http://www.ascd.org/publications/books/103011/chapters/What-Is-Integrated-Curriculum%C2%A2.aspx.
Haddad, L. (2002). An Integrated Approach to Early Childhood Educational and Care. Early Childhood and Family Policy Series. Educational Resources Information Center. (Mimeographed). France: Unesco.
Korolainen, P. (1997). Teaching English in Composite Classes at the Lower Level of Comprehensive School. Finland: University of Jyvaskyla.
Okujagu, A. (2012). Effects of Instructional Materials on Performance of Pupils in Team-Taught Classes in Multi-Grade Rural Primary Schools in Rivers State. International Journal of Research Development, 7(1),1-6.