รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นด้านการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 3) เพื่อการศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNI modified และไคสแควร์(Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นอยู่ และสภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียน ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในภาพรวมมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ ซึ่งองค์ประกอบที่ 1 หลักการกระจายอำนาจ องค์ประกอบที่ 2 หลักการมีส่วนร่วม องค์ประกอบที่ 3 หลักการบริหารตนเอง และองค์ประกอบที่ 4 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ซึ่งได้รูปแบบบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา ดังนี้ POPLICAD: P = วางแผน O = องค์กร/โครงสร้าง P = การมีส่วนร่วม L = การนำ I = แรงบันดาลใจ C = ควบคุม/ดูแล/นิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ A = การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม และD = การพัฒนา/ต่อยอด และรูปแบบมีความถูกต้องและเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) หลังการทดลองใช้มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติวัฒน์ ธนพัฒน์โยธิน. (2564).การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชญานี ภัทรวารินทร์.(2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร,10(2),188-201.
ทวีศักดิ์ สมนอก. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เทพบดินทร์ คะสา ณรงค์ พิมสาร และสิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2563).รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1,2.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,5(1),26-39.
ปฏิญญา ศรีสุขและสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์.(2563). แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,7(7),170-183.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. (2563). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563.กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.จันทบุรี เขต 2.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สํานักงานเขตพื้นที่่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอํานาจบริหาร และจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562).มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.).
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและจัดทําฐานข้อมูลและสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและการตัดสินใจเชิงนโยบายของหน่วยงานส่วนกลาง. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจํากัด.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2553). การศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.