การพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูป จากแมลงในประเทศไทย

Main Article Content

นัฏพร ชัยวงค์
สุดา สุวรรณาภิรมย์
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูปจากแมลงเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารกุ้งของผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มกุ้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 7,302 ราย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์แบบจําลองสมการโครงสร้างขนาดกลุ่มตัวอย่าง 380 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มกุ้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล ประกอบด้วย นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 40 ปี และมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพาะเลี้ยงฟาร์มกุ้ง เมื่อทำการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างพบว่า การพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูปจากแมลงได้รับอิทธิพลทางตรงมากที่สุดจากการแข่งขันทางการตลาด และได้รับอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดจากนโยบายภาครัฐ และปัจจัยนโยบายภาครัฐมีอิทธิพลโดยรวมต่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยโปรตีนแปรรูปจากแมลงมากที่สุดผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มกุ้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. (2564). รายงานประจำปี 2564. (รายงานประจำปี). กรุงเทพมหานคร: กรมประมง.

พรภัทร อินทรวรพัฒน์. (2562). คลังความรู้ เรื่อง “การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)”. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://km.mhesi.go.th/ sites/default/files/%20เรื่อง%20การจัดการความรู้%20(KM).pdf.

พสุธา สุนทรห้าว. (2559). การวิเคราะห์ความต้องการและศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการป่าชุมชนซับใหญ่พัฒนา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการจัดการป่าไม้, 10(9), 77-88.

วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, 11(1), 2148-2167.

วีระพล ผ่องสุภา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันจากการรวมกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม .วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป. (2563). การเพาะเลี้ยงแมลงเพื่อสนับสนุนนโยบายเกษตรยั่งยืนของสหภาพยุโรป. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://appdb.tisi.go.th/tis_devs/regulate/eu/pdf/Insect_17122563.pdf.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์. (2563). เทคโนโลยีและธุรกิจยุคใหม่ ABCDEF. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://xn--42ca1c5gh2k.com/เทคโนโลยีและธุรกิจ.

สุบัน บัวขาว. (2562). การพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี. ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 21(1), 33-40.

Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press.

Porter, M.E. (2005). The Competitive Advantage Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.