ปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี แนวคำพิพากษาศาล ผลงานวิจัย ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัญหากฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ 1.แพทย์ 2.พยาบาล 3.เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของรัฐ 4.ประชาชน 5.ทนายความ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์อาจส่งผลต่อทางกฎหมายได้หลายกรณี เริ่มแต่การแจ้งข้อหาไปถึงการพิจารณาวินิจฉัยผลความรับผิดทางอาญาของบุคคล ดังนั้นจึงขอเสนอแนะว่าควรนำข้อเสนอเฉพาะข้อหาหรือฐานความผิดเฉพาะตาม “ประมวลกฎหมายอาญา” ที่แพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจจะถูกฟ้องให้ต้องรับผิดในทางอาญาได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เบญจมาศ กองทรัพย์. (2560). ปัญหาการดำเนินคดีของผู้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์. รายงานการฝึกอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น สถาบัน พัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
ปวีณา จันทวิรัช. (2560). พยานผู้เชี่ยวชาญกับกระบวนการเข้าถึงความยุติธรรมในระบบกฎหมายไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 : ศึกษาพยานผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของญี่ปุ่น. รายงานการศึกษาดูงานตามหลักสูตรกฎหมายแพ่งและกระบวนวิธีพิจารณา : ศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายญี่ปุ่น,สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
เนชั่นออนไลน์. (2556). ฟ้องหมอ .สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2566, จาก htp:/www.nationtv.lV/main/content/social/378433276/
วิฑูรย์ ตรีสุนทรรัตน์ และธนสร สุทธิบดี. (2561). กฎหมายการแพทย์ ความยินยอมภายหลังได้รับการบอกกล่าวแล้ว (Informed Consent). กรุงเทพฯ : นิติธรรม
วิศิษฏ์ ตั้งนภากร.(2566). คดีบริการทางการแพทย์. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566, จาก htps:/www.google.co.th/search?q=
สรวิศ ลิมปรังษี. (2566).กรณีศึกษาต่างประเทศ : ศูนย์ระงับข้อพิพาทแบบมีประสิทธิภาพ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกสศาลยุติธรรม สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก www.library.coj.go.th/indexarticle2.php?Idmain=21 &&No=2 1...page
สำนักข่าวนิวส์พลัส. (2565). ฟ้องโรงพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2566, จาก htp:/www.newsplus.co.th/98733.
หอการค้ำไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2565). แนวทางของศาลในการปฏิบัติการ อนุญาโตตุลาการในศาล. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก htp://www.iccthailand.or.th/arbitration detailphp?id=2
อนุชา กาศลังกา. (2563). คู่มือการจัดการคดีทางการแพทย์ (สำหรับแพทย์จบใหม่). กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.