มาตรการทางกฎหมายไทยเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนัก เกินควรแก่คู่สัญญา

Main Article Content

ณัฏฐ์พิชา วโรดมอธิพัฒน์
ณัฐวิน อัศวภูวดล
เกรียงไกร กาญจนคูหา
เฉลียว นครจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี แนวคำพิพากษาศาล ผลงานวิจัย ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายไทยเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มาตรการทางกฎหมายไทยเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ 1.บริษัท 2.ทนายความ 3.หน่วยงานของรัฐ 4.ประชาชน ผลการวิจัย พบว่ากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยไม่ครอบคลุมและไม่มีกฎหมายเฉพาะของประเทศไทยที่จะนำมาปรับใช้ได้ในกรณีของมาตรการทางกฎหมายไทยเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา (hardship) จึงควรที่จะต้องศึกษาถึงสภาพปัญหาและมาตรการทางกฎหมายไทยเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญา (hardship) ในเชิงเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพื่อนำผลของการศึกษามาเสนอเป็นแนวทางให้สอดคล้องและมีมาตรฐานเทียบเท่าหลักกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติ ติงศภัทิย์. (2565). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตรา ว่าด้วย จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพ 2. กรุงเทพ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

จุมพิตา เรืองวิชาธร. (2563). การบูรณาการกฎหมายซื้อขายของอาเชียน: ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายซื้อขายของประเทศไทยและCISG. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,49(1), 130-146.

พระครูวินัยธรเอก ชินวโส. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีผลผูกพันตามหลักสัญญาต้องเป็นสัญญา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,4(1), 69-78.

ไพโรจน์ วายุภาพ. (2561). คำอธิบายประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้.กรุงเทพ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2563). คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (ผลแห่งหนี้). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:วิญญชน.

สุนทร มณีสวัสดิ์. (2561). "การชำระหนี้เป็นพันวิสัย. ศึกษาเปรียบเทียบประสบการณ์ของเยอรมันกับการใช้ของประเทศไทย." MFU Connexion: Joural of Humanities and Social Sciences, 7(1),139-156.

เสนีย์ ปราโมช, ม. ร.ว.(2562). ประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบบริบูรณ์). พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงแก้ไข กรุงเทพฯ:วิญญูชน.

เหตุสุดวิสัย.(2566). การตีความคำนิยามเหตุสุดวิสัยของไทยให้สอดคล้องกับหลักสากล. Retrieved March 2, 2023, from https://www.legardy.com/thai-law/civil-commercial/civil-and-commercial-section8.

Force majeure Clause. (2022). Retrieved March 2, 2023, from https://www.bimco.org/contracts-and-clauses/bimco-clauses/current/force-majeure-clause-2022.

Force majeure Clause. (2023). Repaying debt is a thousand possibilities. Retrieved March 2, 2023, from https://www.investopedia.com/terms/f/forcemajeure.asp.