ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อรูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาหารูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู  อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย  เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภูสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบลวังชมภู พนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 112 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาหารูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ผู้วิจัยได้สร้างภาพจำลองตามแนวคิดและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้รูปแบบอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล  4 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบไทย รูปแบบคลาสสิก รูปแบบโมเดิร์น และรูปแบบธรรมชาติ และ 2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบอาคารสำนักงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.37) โดยมีความคิดเห็นต่อรูปแบบอาคารสำนักงาน รูปแบบคลาสสิกมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.93, σ = 0.013) 


     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และคณะ. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การบริการสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 131-142.

พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ และคณะ. (2564). รูปแบบสถาปัตยกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยของข้าราชการ กรณีศึกษากรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(1), 21-32.

เพ็ญนภา สุขเสริม และคณะ. (2561). ความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิที่มีต่อการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต. วารสารวิชาการวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 134-143

สมาคมสถาปนิกสยาม และวิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ :สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู. (2566).รายงานแผนอัตรากำลัง 3 ปี (พ.ศ.2564-2566).งานบริหารงานบุคคล องค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู.

อรอุมา ตั้งตระกูลแสง. (2564). พฤติกรรมการใช้และผลที่ได้จากากรใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์มะขาม ในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13 (1), 328-339.

Best, J. W. (1986). Research in Education. (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jesy: Prentiec Hall

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,16(3), 297-334.

Likert, R. (1932). A technique for the Measurement of Attitudes. New York : New York University.