ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดกรณีค่าปรับงานล่าช้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่อผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชน

Main Article Content

บุญทอง เอื้อหิรัญญานนท์
ปารเมศ อักษรดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางแก้ไข กรณีความรับผิดกรณีค่าปรับงานล่าช้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่อผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชน ของบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่อผู้ว่าจ้างบริษัทเอกชน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดความล่าช้า ผู้ว่าจ้างชอบจะให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อแลกกับการไม่โดนค่าปรับ ทั้งนี้มีประเด็นปัญหาที่เกิดความผิดกรณีค่าปรับล่าช้า ได้แก่ 1) ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือผู้ว่าจ้างในกรณีที่งานล่าช้า 2) ปัญหาเกี่ยวกับอัตราค่าปรับที่สูงเกินไป และ 3) ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเรียกเก็บค่าปรับกรณีผู้ว่าจ้างไม่ดำเนินการเรียกเก็บค่าปรับภายในระยะเวลาที่เหมาะสม แนวทางในการแก้ปัญหา โดย 1) เพิ่มข้อสัญญาเรื่องการปรับให้ผู้ว่าจ้าง สามารถเรียกร้องได้ มาตรา 215 และมาตรา 222 2) กำหนดอัตราค่าปรับที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ และ 3) กำหนดอัตราค่าปรับที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ มูลค่างานจ้าง ความล่าช้าที่เกิดขึ้น และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ว่าจ้าง


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โชคชัย เนตรงามสว่าง. (2565). การจ่ายเงินค่าจ้างล่าช้าและการไม่จ่ายเงินค่าจ้างของผู้ว่าจ้างในสัญญาจ้างก่อสร้าง ภาครัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,1(1),46 – 58.

ณัฐธนา เลิศอริยานันท์. (2561). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาและความรับผิดทาง ละเมิดของผ้ปูระกอบธุรกจิอาคารชุด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา กฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

ดาราพร ถิระวัฒน์. (2542). กฎหมายสัญญา สถานะใหม่ของสัญญาปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาที่ ไม่เป็นธรรม .พิมพค์ร้ังที่2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 2 การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน เอกชน และพัฒนาการในกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ:นิติธรรม.

ฤทธ์ิชาร์ด ดีอามาตย์, (2549). สาเหตุของความล่าช้าในงานก่อสร้างอาคารสูง. ข่าวช่าง (ฉบับที่21) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วรรณกวี.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2552). คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และ ลาภมิควรได้: (มูลหนี้2) พร้อมคำอธิบายในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539และพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Bramble, B.B. & Callahan, M.T. (1987). Construction Delay Claims. New York: John Wiley & Sons Inc.

Husni Madi and others. (2019). FIDIC Golden Principles. Geneva: International Federation of Consulting Engineers (FIDIC).

Post today. (2561). งานก่อสร้างล่าช้า แก้ปัญหาอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566,

จาก https://www.posttoday.com/real-estate/568572.