การกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงาน: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และ 2) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 22 บริษัท เก็บข้อมูลจากรายการประจำปีและงบการเงินของบริษัท แบบรายไตรมาสตั้งแต่ปี พ.ศ.2560–พ.ศ.2565 การวิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณาได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ โดยการเลือกตัวแปรด้วยการนำเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำกับดูแลกิจการ: ด้วยจำนวนครั้งในการประชุมของคณะกรรมการ (BM) และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ (AC) ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทมีผลต่อการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) โดยจำนวนครั้งในการประชุมของคณะกรรมการและคณะกรรมการ 2) การกำกับดูแลกิจการ: ด้วยจำนวนของคณะกรรมการบริษัท (BS) จำนวนครั้งในการประชุมของคณะกรรมการ (BM) และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ (AC) มีผลต่อการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้แสดงให้ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้ใช้งบการเงินได้เห็นถึงความสำคัญของจำนวนของคณะกรรมการบริษัท การประชุมของคณะกรรมการ และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบต่อการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อความน่าเชื่อถือและการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินตนา ไกรทอง และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2562). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงาน ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8 (2),500-508.
นัฎพร มโนรถพานิช (2564) ศึกษาเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์และราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม เกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12),279-291.
นัทวตรา ปัณชนาธรณ์ และพรทิวา แสงเขียว. (2564).อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจหมวดอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 77-89.
ปวีณา คำพุกกะ. (2557). วิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างผู้ถือหุ้นกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์.วารสารวิชาชีพบัญชี, 4(10), 26-39.
สำนักกฎหมายเดชอุดม แอนด์ แอสโซซิเอทส์. (2566). การกำกับดูแลกิจการในประเทศไทย CORPORATE GOVERNANCE IN THAILAND. Dej-Udom & Associates.
Ahmed Almoneef and Durga Prasad Samontaray. (2018). Corporate governance and firm performance in the Saudi banking industry. Banks and Bank Systems, 14(1),147-158.
Conger, J., Finegold, D., & Lawler III, E. (1998). Appraising boardroom performance. Harvard Business Review,76(1),136-148.
Grant Thornton. (2021). Market Report 2021 Healthcare Industry. University of Melbourne
Rajendra Maharjan. (2019). Corporate Governance and Financial Performance of Insurance Companies in Nepal. International Research Journal of Management Science, 4(1), 99-117.
Wahida Raza ei al. (2020). Corporate Governance and Return on Equity Evidence from Pakistan Stock Exchange. Journal of Accounting and Finance in Emerging Economies, 6(1), 63-72.